สรุปจุดที่ต้องดูในงบดุล
สรุปจุดที่ต้องดูในงบดุล
สรุปจุดที่ต้องดูในงบดุล
ดูส่วนของสินทรัพย์
1. สินทรัพย์หมุนเวียน (Current Asset) เป็นตัวทำเงินให้กับธุรกิจ บริษัทที่ดีควรมีสินทรัพย์หมุนเวียนมากกว่าหนี้สินหมุนเวียนมาก ยิ่งส่วนต่างมาก ยิ่งดี ตัวเลขนี้คำนวนได้เรียกว่า current ratio (อัตราส่วนหมุนเวียน) = current assets (สินทรัพย์หมุนเวียน) / current liabilities (หนี้สินหมุนเวียน) ถ้ามีค่ามากกว่า 1 เยอะๆ จะดี โดยที่ ทรัพย์สินหมุนเวียน - หนี้สินหมุนเวียน = ทุนดำเนินกิจการ (Working Capital) ยิ่งมีมากยิ่งดี
ดูส่วนของสินทรัพย์
1. สินทรัพย์หมุนเวียน (Current Asset) เป็นตัวทำเงินให้กับธุรกิจ บริษัทที่ดีควรมีสินทรัพย์หมุนเวียนมากกว่าหนี้สินหมุนเวียนมาก ยิ่งส่วนต่างมาก ยิ่งดี ตัวเลขนี้คำนวนได้เรียกว่า current ratio (อัตราส่วนหมุนเวียน) = current assets (สินทรัพย์หมุนเวียน) / current liabilities (หนี้สินหมุนเวียน) ถ้ามีค่ามากกว่า 1 เยอะๆ จะดี โดยที่ ทรัพย์สินหมุนเวียน - หนี้สินหมุนเวียน = ทุนดำเนินกิจการ (Working Capital) ยิ่งมีมากยิ่งดี
2. วัฎจักรของการทำเงินของธุรกิจคือ เงินสด -> วัตถุดิบ -> สินค้าคงคลัง -> ลูกหนี้การค้า -> เงินสด ยิ่งบริษัททำให้วงรอบนี้สั้นและมีประสิทธิภาพได้เท่าไร ธุรกิจก็ยิ่งมีโอกาสที่จะทำกำไรได้มากเท่านั้น
3. ดูที่เงินสด (Cash and cash Equivalents) บริษัทที่มีเงินสดในมือมาก จะได้เปรียบบริษัทอื่น (ยกเว้นผู้บริหารไร้ความสามารถ ไม่รู้จักหาประโยชน์จากเงินสดนั้น) โดยเฉพาะในยามเศรษฐกิจตกต่ำ ความสามารถในการอยู่รอดและการมีเงินสดมาก สร้างโอกาสได้มาก แต่ เงินสดนั้นจะต้องได้มาจากการดำเนินงานตามปกติ ไม่ใช่ขายสินทรัพย์ที่มีออกไป หรือกู้มาไว้เฉยๆ แนวโน้มของเงินสดต้องดีคือไม่ใช่ร่อยหรอลงๆ อย่างไม่มีเหตุผล แต่ก็ยังมีข้อยกเว้นกับบางบริษัท ที่ตัวเองคิดว่าแข็งแกร่งมาก และไม่จำเป็นต้องเก็บเงินสดไว้เยอะ แต่ใช้ไปในการซื้อหุ้นคืน หรือจ่ายปันผลให้กับผู้ถือหุ้น ก็มี
4. มองดูที่สินค้าคงคลัง (Inventory) ให้ระวังให้ดีโดยเฉพาะสินค้าที่ล้าสมัยได้ เพราะการมีสินค้าคงคลังได้ บริษัทจะต้องใช้เงินสดในการสร้างขึ้นมา หากถึงเวลาแล้วขายไม่ได้ จะเกิดการขาดทุนได้ แต่หากปริมาณสินค้าคงคลัง เพิ่มขึ้นตามยอดขาย (และกำไร) ที่เพิ่มขึ้น แสดงถึงจุดที่ดีเพราะหมายความว่ามีสินค้าเตรียมไว้รอขาย
5. ดูที่ ลูกหนี้การค้า (Account receivables) ลำพังตัวเลขนี้เดี่ยวๆ คงบอกอะไรไม่ได้มากนัก แต่บริษัทที่ดีจะมีอัตราส่วนของลูกหนี้การค้าค้างจ่าย (ที่ยังเก็บเงินไม่ได้) ต่อยอดขายต่ำกว่าคู่แข่ง นั่นแปลว่าสามารถขายของแล้วเก็บเงินได้เร็ว หรือแม้แต่ขายเป็นเงินสด (ลูกค้าต้องยอมจ่ายเร็ว) คือมีอำนาจต่อรองสูง
6. ค่าใช้จ่ายล่วงหน้า (Prepaid Expenses) คือเงินที่จ่ายไปก่อน ก่อนที่บริษัทจะได้รับสินค้าหรือบริการ ตัวเลขนี้ตัวเดียวจะบอกอะไรเราไม่ได้มากนัก แต่ไม่ควรมีจำนวนมากผิดสังเกต
7. ที่ดิน อาคาร เครื่องจักร ของพวกนี้ล้าสมัยได้ เสื่อมสภาพได้ และมีค่าเสื่อมราคา ที่ต้องหักออกจากกำไรขั้นต้น ทำให้กำไรสุทธิต่ำลง บริษัทที่ดีน่าจะมีจำนวนเงินของสินทรัพย์ที่เป็นเครื่องจักร จำนวนน้อยเมื่อเทียบกับยอดขาย คือสามารถทำเงินได้มาก (และมีกำไรมาก) จากเครื่องจักรนั้น ให้สังเกตการลงทุนเครื่องจักรของบริษัทต่างๆ ให้ดี บริษัทที่ต้องลงทุนเครื่องจักรบ่อยๆ เพียงเพื่อให้ตัวเองอยู่รอดได้ในธุรกิจ (พวกบริษัท hi-tech ทั้งหลาย) เป็นสิ่งที่นักลงทุนควรระมัดระวัง
8. ค่าความนิยม (Goodwill) เป็นเงินส่วนที่บริษัทจ่ายออกไป แล้วได้กลับมาในรูปของค่าความนิยมเช่น ยี่ห้อ ตราสินค้าหากตัวเลขนี้เพิ่มขึ้น แสดงว่าบริษัทได้ทำการซื้อธุรกิจอื่นเพิ่มขึ้นมา หากไม่มีการซื้อเพิ่มเข้ามา ให้นักลงทุนติดตามดูตัวเลขนี้ว่าเพิ่มขึ้นหรือลดลงในแต่ละปีหรือไม่ การลดลงแสดงถึงการที่ตอนแรกจ่ายเงินซื้อมากเกินไป
9. สินทรัพย์ไม่มีตัวตนอื่นๆ เช่น สิทธิบัตร ลิขสิทธิ ถ้ามีตัวเลขพวกนี้เพิ่มขึ้น ก็แสดงว่าบริษัทได้ซื้อทรัพย์เหล่านี้เข้ามาจากคนอื่น บริษัทไม่สามารถบันทึกทั้ง Goodwill, ค่าสิทธิบัตร, ค่าลิขสิทธิ ใดๆ ที่มีการคิดค้นขึ้นเองภายในของบริษัทได้ นั่นคือในความเป็นจริงแล้ว นักลงทุนสามารถซื้อหุ้นของธุรกิจที่มีชื่อตราสินค้าที่พัฒนาโดยตัวเองได้ราคาต่ำกว่าความเป็นจริง เนื่องจากบริษัทไม่สามารถบันทึกค่าของสิ่งเหล่านี้ไว้ในมูลค่าทางบัญชีได้
10. ดูที่ตัวเลขการลงทุนระยะยาว (Long Term Investments) ธุรกิจที่ดีควรแบ่งเงินไปลงทุนระยะยาว เพื่อผลสำเร็จอย่างยั่งยืนในระยะยาว คือสามารถเพิ่มมูลค่าได้มากและมีความได้เปรียบในการแข่งขัน การลงทุนระยะยาวนี้รวมถึงการซื้อธุรกิจอื่นด้วย สิ่งหนึ่งที่ต้องรู้คือ ตัวเลขของการลงทุนระยะยาวนี้จะถูกบันทึกไว้ด้วยมูลค่าเมื่อซื้อ หรือราคาตลาด แล้วแต่ว่าอันไหนจะต่ำกว่า ดังนั้นการเลือกบริษัทที่ได้นำเงินไปลงทุน (ซื้อ) ธุรกิจอื่นที่ดีเอาไว้ จะทำให้บริษัทสามารถทำกำไรได้ในระยะยาว และตัวบริษัทเองก็เพิ่่มค่าขึ้นไปเรื่อยๆ
11. สินทรัพย์ระยะยาวอื่นๆ จริงๆ ตัวเลขนี้บอกอะไรไม่ได้มากนัก แต่ไม่ควรมีจำนวนมากเมื่อเทียบกับสินทรัพย์โดยรวม เพราะว่าผู้บริหารควรจะหาทางเปลี่ยนสินทรัพย์ที่ไม่เกิดประโยชน์ ไม่สร้างรายได้และกำไร ไปเป็นสินทรัพย์ที่สร้างผลกำไรให้กับบริษัทมากกว่า
12. ขนาดของสินทรัพย์รวม และอัตราผลตอบแทนต่อสินทรัพย์ ยิ่งอัตราผลตอบแทนต่อสินทรัพย์ (ROA - Return On Asset) มีค่ามากยิ่งดี คือสามารถทำประโยชน์จากสินทรัพย์ที่มีได้ดี แต่จะดียิ่งขึ้นไปอีกถ้าขนาดของสินทรัพย์นั้นใหญ่มากๆ ด้วย เพราะจะกลายเป็นอุปสรรคในการเข้าแข่งขันของผู้อื่น (Entry Barrier) ทำให้บริษัทมีคู่แข่งน้อยรายและมีการแข่งขันต่ำในอุตสาหกรรมนั้น
ตอนที่ 38 (10 มี.ค. 54)
ดูส่วนของหนี้สิน
13. หนี้สินต่างๆ รวมทั้งหนี้สินระยะสั้นที่จะต้องครบกำหนดชำระในหนึ่งปี ประกอบไปด้วยหลายส่วนเช่น เจ้าหนี้การค้าคือหนี้สินที่บริษัทซื้อของเครดิตมาและได้รับใบแจ้งหนี้แล้ว, ค่าใช้จ่ายค้างจ่ายคือหนี้ที่ต้องจ่ายแต่ยังไม่ได้รับใบแจ้งหนี้, และหนี้สินหมุนเวียนอื่นๆ ซึ่งคือหนี้ระยะสั้นอื่นๆ ที่ไม่ได้อยู่ในสองแบบข้างต้น หนี้พวกนี้เป็นหนี้สินปกติ แต่ให้นักลงทุนระวังหนี้สินระยะสั้นที่เบิกมาเป็นตัวเงินสดให้ดี ดูข้อ 14 ต่อไปครับ
14. เนื่องจากโดยปกติแล้ว ดอกเบี้ยเงินกู้ระยะสั้น จะต่ำกว่าเงินกู้ระยะยาว บางบริษัทรวมทั้งพวกสถาบันการเงิน เลยทำการกู้หนี้ระยะสั้นมาเพื่อใช้งานระยะยาว ปัญหาจึงอาจจะเกิดขึ้นได้เมื่อการลงทุนระยะยาวนั้นยังไม่คืนทุน แต่ถึงกำหนดที่จะต้องใช้หนี้เงินต้นและบริษัทยังหาเงินกู้ก้อนใหม่เพื่อมาชดใช้หนี้เดิมไม่ได้ทำให้ธุรกิจขาดสภาพคล่อง ซึ่งเป็นสภาพที่อันตรายมาก ดังนั้นนักลงทุนจะต้องพยายามหลีกเลี่ยงบริษัทที่มีหนี้สินระยะสั้นมากๆ แล้วเอาเงินไปลงทุนระยะยาว (ดูยากสักหน่อย แต่ขอให้พยายามดูก็แล้วกัน)
15. บริษัทที่แข็งแกร่ง และมีความสามารถในการแข่งขันสูง ไม่ควรจะมีหนี้สินที่จะครบกำหนดชำระในหนึ่งปีก้อนโต แต่ถ้าหนี้สินนั้นเป็นการกู้มาเพื่อใช้หนี้เพียงชั่วคราว ก็อาจจะเป็นโอกาสที่ดีในการได้ซื้อหุ้นของบริษัทนั้นในราคาถูก เนื่องจากนักลงทุนทั่วไปจะตกใจที่กำไรของบริษัทลดลงอย่างมากเพราะว่าต้องใช้หนี้ก้อนใหญ่ แต่ก็เป็นเพียงเหตุการณ์เพียงครั้งเดียว
16. จำนวนรวมของหนี้สินหมุนเวียนต่ำๆ เป็นสิ่งที่ดี (เพราะทำให้ทุนดำเนินกิจการหรือ working capital สูงได้จากสินทรัพย์หมุนเวียนจำนวนเดิม - ดูข้อ 1)
17. บริษัทที่แข็งแกร่งในการแข่งขัน (ไม่ต้องปรับปรุงอะไรมากมายนัก) จะมีหนี้สินระยะยาวต่ำ และสามารถชดใช้ได้ (ถ้าจะทำ) ด้วยผลกำไรภายในเวลา 3-4 ปี
18. จะมีบริษัทบางอย่างที่มีความแข็งแกร่งมากแต่ก็มีหนี้สินระยะยาวมาก ในกรณีแบบนี้เราควรพิจาณาซื้อหุ้นกู้ของบริษัทนั้นจะดีกว่า เพราะว่าบริษัทจะต้องวุ่นวายกับการหาเงินมาใช้หนี้ จะไม่ค่อยมีเวลาจัดการงานให้เติบโตได้มากนัก
19. ยังมีหนี้สินอื่นๆ จิปาถะเช่น ภาษีเงินได้รอตัดบัญชี (ไม่น่าสนใจมาก), ส่วนของผู้ถือหุ้นส่วนน้อย (เอาไว้ดุลกับทรัพย์สินของบริษัทร่วม), หนี้อื่นๆ (ไม่ค่อยมีประโยชน์เท่าไรนัก แต่ไม่ควรมีจำนวนมากจนผิดสังเกต)
20. สัดส่วนระหว่างหนี้สินต่อทุน (Debt/Equity ratio) ไม่ควรเกิน 0.8 แต่บางบริษัทอาจจะนำเงินสดทั้งหมดไปใช้ในการซื้อหุ้นคืน หรือเพื่อสร้างมูลค่าอื่นๆ โดยบริษัทไม่สนใจจะถือเงินสดไว้เนื่องจากมีความแข็งแกร่งมาก (เครดิตดี ยืมเงินใครเขาก็ให้ ว่างั้นเหอะ) ทำให้ D/E ดูแย่มากก็มี นักลงทุนจะต้องดูดีๆ ด้วย คือดูงบกำไรขาดทุนประกอบด้วยว่าเป็นบริษัทที่สามารถทำกำไรได้สูงมากหรือไม่
ตอนที่ 39 (11 มี.ค. 54)
ดูส่วนของผู้ถือหุ้น
21. ส่วนของผู้ถือหุ้น (Shareholder's Equity) = สินทรัพย์รวม (Total Assets) - หนี้สินทั้งหมด (Total Liabilities) ซึ่งส่วนของผู้ถือหุ้นนี้ประกอบไปด้วยส่วนประกอบย่อยคือ
(ก) หุ้นบุริมสิทธิ์ (จะทำงานเหมือนหนี้ ไม่ใช่ทุน/เจ้าของ ต้องจ่ายดอกเบี้ยให้กับผู้ถือ และไม่สามารถหักดอกเบี้ยจ่ายนี้ออกก่อนคิดภาษีได้ เป็นทุนที่มีต้นทุนทางการเงินสูงมาก บริษัทที่มีการเงินแข็งแกร่งและยั่งยืนจะไม่มีหุ้นชนิดนี้)
(ข) หุ้นสามัญ ซึ่งคือส่วนของทุนเรือนหุ้น หุ้นบุริมสิทธิ์, หุ้นสามัญ, ทุนเรือนหุ้น พวกนี้จะถูกบันทึกไว้ในราคาพาร์ หากสามารถขายหุ้นได้สูงกว่าราคาพาร์ ก็มาบันทึกไว้ตรงส่วน
(ค) ส่วนเกินทุนมูลค่าหุ้น
(ง) กำไรที่ยังไม่ได้จัดสรร ตรงนี้เป็นของสำคัญ เดี๋ยวเราจะมาดูกันภายหลัง
(จ) หุ้นซื้อคืนหรือ treasury stocks จะเป็นส่วนของหุ้นสามัญที่บริษัทมีเงินสดเหลือและซื้อหุ้นของตัวเองกลับเข้ามา การมีหุ้นซื้อคืนเป็นสิ่งที่ดี ผู้ถือหุ้นได้ประโยชน์ เพราะเวลาหารจ่ายปันผลจะจ่ายตาม outstanding shares คือจ่ายเท่าที่มีหุ้นอยู่ในมือผู้ถือหุ้น หุ้นซื้อคืนจะไม่ถือว่าอยู่ในมือผู้ถือหุ้น ตัวหารจึงน้อยลง และเมื่อหุ้นของบริษัทมีจำนวนน้อยลง ราคาหุ้นก็จะเพิ่มขึ้นเองด้วย ดูข้อ 25 ประกอบด้วย
(ฉ) ทุนอื่นๆ
22. ส่วนของผู้ถือหุ้นนี้ มีที่มาได้สามอย่างคือ
(ก) IPO (การระดมทุนออกขายหุ้นให้แก่สาธารณชนทั่วไปเป็นครั้งแรก)
(ข) การเพิ่มทุน
(ค) กำไรสะสม
โดยที่ "หุ้นกู้" จะไม่ใช่ทุน แต่จะถูกบันทึกไว้เป็นหนี้สิน ผู้บริหารมีหน้าที่นำกำไรสะสมไปทำให้งอกเงยให้มากที่สุด
23. กำไรสะสมส่วนที่ยังไม่ได้จัดสรร เป็นเหมือนคลังสมบัติของบริษัท บริษัทที่มีความสามารถในการแข่งขัน ควรจะมีตัวเลขของกำไรสะสมที่ยังไม่ได้จัดสรรนี้เพิ่มขึ้นๆ ทุกๆ ปี บริษัทควรจะนำเงินนี้ไปลงทุนต่อให้งอกเงย โดยไม่ต้องใช้เงินทุนปกติของบริษัทอีก เช่นเอาไปซื้อกิจการอื่นที่มีความสามารถในการแข่งขันอย่างยั่งยืน จะทำให้บริษัทรวยขึ้นๆ เอง (เป็นวิธีที่เบิร์กไชร์ ฮาร์เธอเวย์ รวยขึ้นๆ)
24. กำไรส่วนที่จัดสรรแล้ว เช่นเป็นปันผล จะต้องไปดูในบัญชีกระแสเงินสด (Cash Flow Statement) เพราะว่าจะไม่เห็นในงบดุลนี้ (คือมันเป็นเงินสด ไหลออกไปแล้วก็หายไป ไม่มีหนี้, สินทรัพย์ หรือส่วนของผู้ถือหุ้นค้างอยู่ให้เห็น)
25. หุ้นซื้อคืนจะถูกบันทึกไว้ในงบดุล (ในส่วนของ Equity) เป็นติดลบ เพื่อหักออกจากทุนเดิม (คือเงินหาย แต่ว่าอมหุ้นไว้แทน) จะทำให้ส่วนของผู้ถือหุ้นลดลง ไม่ต้องตกใจ (ถ้าอยากรู้ว่าแบบไม่ลดเป็นเท่าไร ก็ลองเอามูลค่าของหุ้นซื้อคืนบวกกลับดูก็ได้) การที่เป็นแบบนี้จะทำให้ผลตอบแทนต่อส่วนของผู้ถือหุ้น (ROE) สูงขึ้น ถ้าเห็นค่า ROE สูงมากๆ ให้กลับไปดูว่าบริษัทมีหุ้นซื้อคืนหรือไม่ ถ้ามีจำนวนมาก ให้ลองคำนวณ ROE ดูใหม่แบบไม่หักหุ้นซื้อคืนออก เพื่อดูความสามารถในการบริหารหนี้-ทุนของบริษัทจริงๆ
26. การซื้อหุ้นคืน จะทำให้ทุนต่ำลง บางบริษัทอาจจะมี ROE สูงมากและมีส่วนของทุนติดลบ อาจจะเป็นเพราะว่าบริษัทแข็งแกร่งมาก หรือว่าใกล้เจ๊งก็ได้ ให้ดูให้ดี (ไปดูงบกำไร/ขาดทุน ก็ได้ ถ้าบริษัทขาดทุนตลอดจนทำให้ส่วนของผู้ถือหุ้นติดลบ แบนี้คือใกล้เจ๊ง แต่ถ้าเอาเงินทั้งหมดที่มี ไปไล่ซื้อหุ้นตัวเองคืนมาจากตลาด แบบนี้อาจจะดีมากๆ ก็ได้
27. ปัญหาของการลงทุนด้วยหนี้ โดยทั่วไปการที่ได้ ROE สูงๆ เป็นสิ่งที่ดี แต่จริงๆ แล้วก็มีที่มาได้สองวิธีคือ
(1) วิธีปกติ คือบริษัทต้องมีความได้เปรียบในการแข่งขันมาก ทำให้มีอัตรากำไรขั้นต้นสูงและมีค่าใช้จ่ายต่างๆ ต่ำ สุดท้ายทำให้อัตรากำไรสุทธิสูง และสามารถใช้เงินส่วนของผู้ถือหุ้นที่พอกพูนเพิ่มขึ้นมาไปใช้ได้อย่างคุ้มค่า
(2) แบบทุนน้อย กู้มาก แบบนี้ธุรกิจธรรมดาๆ ก็สามารถมี ROE สูงๆ ได้เช่นกันแต่ก็ตามมาด้วยความเสี่ยง หากรายได้ไม่แน่นอน ก็จะมีปัญหาเรื่องการใช้หนี้หรือจ่ายดอกเบี้ยได้
28. จากข้อ 27 ข้างต้น โดยปกติแล้วควรพยายามหลีกเลี่ยงบริษัทที่ใช้หนี้ในการสร้างรายได้ ยกเว้นว่าคุ้มเสี่ยงจริงๆ คือรายได้แน่นอนมากๆ และกำไรมากพอจะใช้หนี้ก้อนโตนั้นได้ในระยะเวลา 2-3 ปี และไม่ต้องเวียนวนกับการกู้เพิ่มอยู่เรื่อยๆ
Credit >> http://muegao.blogspot.com
0 ความคิดเห็น :