Like us

เทคนิคการวิเคราะห์กราฟแท่งเทียน

 \"bullishcandles

ว่ากันว่าการวิเคราะห์หุ้นด้วยรูปกราฟแท่งเทียนหรือ Candlestick สามารถที่จะช่วยให้คุณทำการซื้อขายหุ้นได้อย่างแม่นยำยิ่งขึ้น คำกล่าวอ้างนี้จะเป็นจริงแค่ไหน? และมันจะสามารถเอาชนะความน่าจะเป็นของการโยนเหรียญได้หรือไม่? ในวันนี้ผมได้ลองทำการทดสอบมันกับตลาดหุ้นไทยออกมาให้ดูกันครับ
ประวัติโดยสังเขปของการวิเคราะห์ด้วยกราฟแท่งเทียน Candlestick
เป็นที่รู้กันดีว่ากราฟแท่งเทียนหรือ Candlestick Chart นั้นมีประวัติของมันมาอย่างยาวนาน มันถูกคิดค้นขึ้นโดยนักเก็งกำไรข้าวชาวญี่ปุ่นที่ชื่อว่า Honma Munehisa หรือในอีกชื่อหนึ่งว่า Sokyu Homma ในช่วงราวๆศตวรรษที่ 17 โดยภายหลังจากที่เขาได้ทำการคิดค้นการวิเคราะห์พฤติกรรมของราคาข้าวด้วยกราฟ แท่งเทียนขึ้นมานั้นมันก็ได้ช่วยให้เขากลายเป็นอภิมหาเศรษฐีในยุคของเขาใน เวลาไม่นานนัก ประมาณการกันว่าทรัพย์สมบัติของเขานั้นหากนำมาตีเป็นมูลค่าของเงินใน ปัจจุบันนั้นเทียบได้ถึงราวๆ 100 Billion US Dollar เลยทีเดียว ใครอยากอ่านประวัติของเขาเพิ่มเติมแบบสนุกๆลองคลิ้กเข้าไปอ่าน Post ที่เขียนไว้โดยคุณ Tea for Two ได้เลยที่นี่ครับ (ต้องขอขอบคุณมา ณ ที่นี้ด้วยครับ \"wlEmoticon)
*** ในบทความนี้ผมเองจะไม่ขอกล่าวถึงพื้นฐานการวิเคราะห์ด้วยกราฟแท่งเทียนให้ อ่านกันนะครับ เนื่องจากคิดว่าคงมีบทความดีๆเกี่ยวกับมันอยู่เต็มไปหมดแล้ว และมันก็ไม่ใช่สิ่งที่อยากจะนำมาพูดคุยกันในวันนี้ด้วย เพราะประเด็นสำคัญของมันในวันนี้ก็คือความแม่นยำของมันเสียมากกว่าครับ




ความแม่นยำของแท่งเทียน
ถึงแม้ว่าความแม่นยำของการวิเคราะห์ด้วยกราฟแท่งเทียนนั้นจะเป็นที่ ถูกกล่าวขานกันมานานแล้วในวงการตลาดหุ้น อย่างไรก็ตาม ผมคิดว่าน้อยคนนักที่จะเคยได้ทราบว่าจริงๆแล้วอัตราความแม่นยำของมันในตลาด หุ้นไทยนั้นเป็นอย่างไร ในวันนี้ผมจึงได้จับเอารูปแบบของกราฟแท่งเทียนที่เป็นที่ยอมรับกันโดยสากลมา ลองทดสอบออกมาให้ดูกันคร่าวๆว่าผลจะเป็นอย่างที่เราเชื่อกันมากน้อยแค่ไหน และต่อไปนี้คือรายละเอียดของวิธีการทดสอบครับ
ผมได้จับเอาสัญญาณการกลับตัวที่เป็นที่ยอมรับกันโดยสากลว่าพวกมันมีความ น่าเชื่อถือมากที่สุดขึ้นมาทั้งหมด 10 รูปแบบ แบ่งเป็นสัญญาณการกลับตัวขึ้นและลงอย่างละ 5 แบบเท่าๆกัน (ตามรูปด่านล่าง) โดยผมได้ทำการทดสอบย้อนหลังกับหุ้นทั้งตลาดตั้งแต่ช่วงวันที่ 1/1/2001 – 1/1/2011 และเพื่อให้การวัดผลอัตราความแม่นยำของสัญญาณที่เกิดขึ้นมานั้นไม่ถูกผล กระทบจากองค์ประกอบอื่นๆของระบบ ผมจึงได้ตัดเอาสัญญาณขายหุ้นทุกๆอย่างทิ้งไปแล้วแทนที่ด้วยการ Exit โดยนับจากจำนวนวันภายหลังจากที่ได้ Entry เข้าไปแทน (แบ่งเป็น 4 ช่วง คือ 5, 10, 15, 20 วันหลังจาก Entry เข้าไป) เนื่องจากวิธีการนี้จะช่วยให้เราสามารถตัดเอาผลกระทบที่จะเกิดขึ้นจากสัญญาณ ขายและทำให้เหลือตัวแปรหลักอยู่เพียงตัวเดียว ซึ่งนั่นก็คือ Entry Signal ที่เราต้องการจะทดสอบกันครับ
*** ผลความแม่นยำของสัญญาณแต่ละรูปแบบจะถูกวัดออกมาใน 4 คาบเวลา นั่นคือการ Exit หลังจากที่เราได้ Entry เข้าไปเป็นจำนวน 5, 10, 15 และ 20 วัน เพื่อที่จะดูถึงผลกระทบและความเสถียรรวมถึงความประสิทธิภาพของมันในตามความ ยาวนานของการถือครองหุ้น เหตุผลที่ผมได้ตั้งจุดสูงสุดในการทดสอบไว้ที่ 20 วันก็เนื่องมาจากพวกมันมักถูกใช้ในการเก็งกำไรในระยะสั้นๆเป็นส่วนใหญ่นั่น เอง
บางส่วนจากผลการทดสอบความแม่นยำของสัญญาณจากกราฟแท่งเทียน Candlestick
Bullish Signal : สัญญาณการกลับตัวขึ้น
\"bullishcandles
\"image
#Trades 5 days 10 days 15 days 20 days
Bullish Engulfing 1,201 1,182 1,171 1,153
Hammer 756 746 729 722
Bullish Harami 8,644 7,940 7,347 6,899
Piercing Line 154 154 153 152
Bullish Morning Doji Star 243 242 241 240

Bearish Signal : สัญญาณการกลับตัวลง
\"bearishcandles
\"image
#Trades 5 days 10 days 15 days 20 days
Bearish Engulfing 1,005 997 982 971
Shooting Star 36,647 28,158 21,826 18,098
Bearish Harami 18,664 16,509 14,685 13,178
Dark Cloud Cover 372 372 372 372
Bearish Evening Doji Star 71 71 70 70

แท่งเทียน, เหรียญ และความแม่นยำ
จากผลการทดสอบในตารางที่ออกมานั้น เราจะเห็นได้ว่าแท้จริงแล้วสัญญาณของพวกมันนั้นให้อัตราความแม่นยำที่แทบจะ ไม่แตกต่างกับการโยนเหรียญสักเท่าไหร่เลย มิหนำซ้ำสัญญาณหลายๆตัวยังให้ความน่าจะเป็นที่แย่กว่าการโยนเหรียญเสียอีก อีกสิ่งหนึ่งที่เราจะสังเกตุได้ก็คือแม้ Holding Period จะเปลี่ยนแปลงไป แต่ก็ไม่ได้ทำให้อัตราความแม่นยำของพวกมันลดลงอย่างมีนัยสำคัญสักเท่าไหร่ นัก นี่อาจค้ากับความเชื่อที่ว่าแท่งเทียนต้องเอาไว้เล่นสั้นๆไม่กี่วันก็เป็น ได้ นอกจากนี้แล้วเรายังจะสังเกตุได้อีกว่าสัญญาณการวกตัวลงนั้นมีความถี่ (#Trades) ที่จะเกิดขึ้นบ่อยครั้งกว่าการวกตัวขึ้นอีกด้วย
คำถามก็คือจากผลการทดสอบที่ออกมา … อัตราความแม่นยำที่เกิดขึ้นเหล่านี้จะทำให้แท่งเทียนหมดค่าไปเลยหรือไม่?
ผมคงต้องตอบว่าเราคงจะรีบด่วนสรุปอย่างนั้นไม่ได้ เนื่องจากจริงๆแล้วสัญญาณเทคนิคเมื่อวัดกันโดยตัดตัวแปรของ Exit ออกไป ส่วนใหญ่ก็ให้ค่าไม่ดีไปกว่าการโยนเหรียญเลยเช่นกัน นอกจากนี้มันก็ไม่ได้หมายความว่าเพียงเพราะความแม่นยำที่พอๆกับการโยนเหรียญ นี้จะแปลว่ามันไม่มีประสิทธิภาพในการทำกำไรให้คุณด้วยเช่นกัน เนื่องจากสุดท้ายแล้วจุดขาย Exit ต่างหากที่จะตัดสินได้จริงๆว่ามันจะให้ค่ากำไรคาดหวังหรือ Expectancy ที่เป็นบวกได้หรือไม่นั่นเอง อย่างไรก็ตาม ผมคิดว่ามันน่าจะเป็นการดีกว่าที่พวกเราจะได้ใช้เครื่องมือการวิเคราะห์ทาง เทคนิคอย่างรู้เท่าทันโดยไม่หลงเชื่อคำกล่าวอ้างที่เกินจริงไป เนื่องจากเมื่อสิ่งที่คุณคาดหวังกับความเป็นจริงที่เกิดขึ้นมันไม่ได้ไก ล้เคียงกันเลยนั้น จะส่งผลต่อจิตวิทยาการลงทุนของคุณอย่างแน่นอน
… สำหรับวันนี้ก็มีเพียงเท่านี้ครับ แล้วเจอกันใหม่ในบทความหน้า ขอบคุณครับ \"wlEmoticon
ปล. นี่เป็นผลการทดสอบคร่าวๆจากฐานข้อมูลที่ผมมีเท่านั้น ผมไม่อาจรับประกันถึงความถูกต้องได้เต็ม 100% ดังนั้นผู้อ่านควรใช้วิจารณญาณของตนเองพิจารณาดู หรือลองทดสอบด้วยตนเองดูเช่นกันครับ
แมง เม่าคลับ.คอม หนังสือหุ้นน่าอ่าน, วิธีการเล่นหุ้น, การวิเคราะห์หุ้นทางเทคนิค, จิตวิทยาการลงทุน และการบริหารเงินทุน Money Management

0 ความคิดเห็น :

ข่าวการศึกษา