Like us

สูตรคำนวณ เลือกหุ้น 2

หลังจากที่เราได้รู้ถึงความสามารถในการทำกำไรของบริษัทไปแล้ว เรื่องต่อไปที่สำคัญไม่แพ้กัน
ก็คือ การวัดสภาพคล่องของบริษัท สภาพคล่องก็คือ การที่บริษัทมีเงินคล่องมือ เงินเข้า เงินออก ได้อย่างไม่สะดุด จะต้องไม่กู้เงินมาจ่ายแก้ขัด เพราะถ้ากู้บ่อยๆ ย่อมไม่เป็นผลดีกับบริษัท และในเรื่องความสามารถในการกู้เงิน ก็จะมีในบทความต่อไป
การวัดสภาพคล่องของบริษัทมีการวัดอยู่ด้วยสามสูตร เรียกว่า Current ratio, Working capital และ Quick Ratio โดยทั้งสามจะใช้วัดว่าบริษัทมีเงินมากพอสำหรับการใช้จ่ายในธุรกิจที่จะเจอใน รอบ 1 ปีได้หรือไม่
Current Ratio มาจาก สินทรัพย์หมุนเวียน หารด้วย หนี้สินหมุนเวียน ค่าที่ได้ ถ้ามากกว่า 1 ย่อมแสดงว่า มีสินทรัพย์หมุนเวียนที่จะสามารถทำให้กลายเป็นเงิน หรือขายออกไปแล้วได้เงินเข้ามา ไปจ่ายหนี้สินหมุนเวียนได้ และยังมีเงินเหลือ แต่ถ้าน้อยกว่า 1 ก็แสดงว่าสินทรัพย์หมุนเวียนน้อยกว่าหนี้สินหมุนเวียน ไม่ได้แสดงว่าไม่ดีซะทั้งหมด เราต้องเข้าใจรูปแบบของธุรกิจนั้นๆด้วย แต่ธุรกิจส่วนใหญ่แล้ว การมีสภาพคล่องดี ย่อมเป็นสิ่งที่ดี
อย่างที่สองก็คือ Working Capital หมายถึง เงินทุนหมุนเวียน มาจากสินทรัพย์หมุนเวียน ลบด้วย หนี้สินหมุนเวียน ถ้าหากเหลือมาก ก็แสดงว่ามีเงินเหลือเยอะ ไม่ต้องกังวล แต่การเหลือมากเกินไปก็ไม่ได้หมายความว่าจะดี เพราะไม่สามารถใช้สินทรัพย์ที่มี สร้างรายได้และกำไรได้อย่างมีประสิทธิภาพ
และสุดท้ายก็คือ Quick Ratio มาจาก เงินสด+ลูกหนี้การค้า+สินค้าคงคลัง แล้วหารด้วย หนี้สินหมุนเวียน สำหรับวิธีนี้ จะทำให้ได้เห็นสภาพคล่องที่เข้มงวดขึ้น เพราะในความเป็นจริงแล้ว สามอย่างที่นำมาบวกกัน คือของจริงที่ใช้ทำเงิน ทำรายได้ หรือ นำไปใช้หนี้ รวมถึงในการดำเนินธุรกิจจริงๆ ผลที่ได้ออกมาจะเหมือน Current ratio ยิ่งมากยิ่งดี
มีการนำสูตรเหล่านี้มาประยุกต์ใช้ในการคำนวนเลือกหุ้น เช่น การนำ Working Capital มาหารด้วยจำนวนหุ้นทั้งหมด เพื่อให้ทราบถึงเงินทุนหมุนเวียนต่อหุ้น เป็นเท่าไหร่ ถ้าราคาหุ้นถูกกว่าที่คำนวนได้ แสดงให้เห็นว่า ราคาหุ้นที่ซื้อขายกันนั้นถูกกว่าความเป็นจริง ถ้าหากคุณซื้อหุ้นได้มากจนเข้าไปบริหาร คุณก็เหมือนกันซื้อของ 1 บาทด้วยเงินเพียง 50 สตางค์เลย
แต่ว่าสูตรเดียวนั้นยังไม่เพียงพอกับการคัดเลือก จำต้องใช้หลายๆอย่างเข้าด้วยกัน และต้องเข้าใจธุรกิจนั้นให้ดีซะก่อน มิฉะนั้นแล้ว คุณอาจจะมองภาพได้ผิด และซื้อหุ้น หรือลงทุนไปแล้วผิดพลาดได้
ที่มา : http://www.thaihoon.com


0 ความคิดเห็น :

ข่าวการศึกษา