การวิเคราะห์หลักทรัพย์ โดยใช้กราฟเบื้องต้น
การวิเคราะห์หลักทรัพย์โดยวิธีทางเทคนิคเบื้องต้น
ปัจจุบัน วิธีการวิเคราะห์หลักทรัพย์ที่เป็นที่นิยมอย่างแพร่หลายในหมู่นักวิเคราะห์ สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 แนวทางหลัก ได้แก่
1. การวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน (FUNDAMENTAL ANALYSIS)
2. การวิเคราะห์ปัจจัยทางเทคนิค (TECHNICAL ANALYSIS)
การวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานนั้น
เป็นแนวทางที่อาศัยการวิเคราะห์เกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจ
การเมืองทั้งในระดับระหว่างประเทศและภายในประเทศ
รวมถึงการวิเคราะห์ภาวะของแต่ละอุตสาหกรรม และผลการดำเนินงานในแต่ละบริษัท
เพื่อนำมาใช้ในการประเมินหาราคาของหลักทรัพย์ที่เหมาะสม สำหรับการลงทุน
ซึ่งโดยส่วนใหญ่จะเป็นการลงทุนในระยะกลางและระยะยาว
สำหรับการวิเคราะห์ปัจจัยทางเทคนิคนั้น เป็นแนวทางที่อาศัยการวิเคราะห์การเคลื่อนไหวของราคา และปริมาณการซื้อขายของหลักทรัพย์ในอดีตที่ผ่านมา เพื่อคาดการณ์ถึงแนวโน้มของราคา รวมถึงระดับราคาที่ควรจะซื้อหรือขาย ทั้งในระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาว
ข้อดีของการวิเคราะห์ปัจจัยทางเทคนิค คือการที่นักลงทุนอาศัยหลักสถิติมาใช้ในการพยากรณ์ โดยใช้เพียงในเรื่องของราคา และปริมาณการซื้อขายของหลักทรัพย์ในอดีตเท่านั้น สำหรับนำมาใช้ในการวิเคราะห์ ซึ่งต่างจากการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน ที่ต้องอาศัยข้อในด้านต่าง ๆ มากมาย ดังนั้นจึงทำให้นักลงทุนที่ใช้วิธีการวิเคราะห์ปัจจัยทางเทคนิค เสียเวลาในการรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลน้อยกว่าการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน
โดยเหตุผลเบื้องต้นที่จะทำให้การวิเคราะห์ปัจจัยทางเทคนิคมีความน่าเชื่อถือนั้น ประกอบไปด้วยสมมุติฐาน 3 ประการ ดังนี้
1. ราคาเป็นผลรวมที่สะท้อนให้ทราบถึงข่าวสารในด้านต่าง ๆ ทั้งหมดแล้ว
2. ราคาจะเคลื่อนไหวอย่างมีแนวโน้ม และจะคงอยู่ในแนวโน้มนั้น ๆ ในช่วงระยะเวลาหนึ่ง จนกว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงแนวโน้ม
3. พฤติกรรมการลงทุนของนักลงทุน จะยังคงมีลักษณะที่คล้ายคลึงกับพฤติกรรมการลงทุนในอดีต
อย่างไรก็ดี บทความนี้ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อที่จะชี้นำให้นักลงทุนซื้อ หรือขายหลักทรัพย์ใดหลักทรัพย์หนึ่ง ด้วยวิธีการใดวิธีการหนึ่งเป็นการเฉพาะ เพียงแต่เป็นการนำเสนอแนวทางในการวิเคราะห์ปัจจัยทางเทคนิค ซึ่งส่วนหนึ่งอาศัยหลักการทางสถิติมาประยุกต์ ดังนั้นการนำแนวทางการวิเคราะห์ที่นำเสนอนี้ไปใช้ในทางปฏิบัติ จึงต้องระลึกไว้เสมอว่า โอกาสที่จะเกิดความผิดพลาดย่อมเป็นไปได้ เนื่องจากความถูกต้องอยู่ในระดับของความน่าจะเป็นท่านั้น ไม่สามารถยืนยันความถูกต้องได้ทุกครั้ง และหากสมมุติฐานที่กล่าวไว้ข้างต้นมีการเปลี่ยนแปลงไป ย่อมจะมีผลต่อความถูกต้องของหลักการวิเคราะห์ที่นำเสนอไว้ในบทความนี้ด้วย เช่นกัน ไม่มากก็น้อย
ในทางปฏิบัติ นักลงทุนจึงควรใช้ข้อมูลที่ได้ทั้งจากการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน และปัจจัยทางเทคนิคมาประกอบการตัดสินใจลงทุน ทั้งนี้เพื่อให้ได้ผลการตัดสินใจที่มีความถูกต้องและน่าเชื่อถือยิ่งขึ้น
โดย REUTERS(THAILAND)LTD./IRS LTD.
ปัจจุบัน วิธีการวิเคราะห์หลักทรัพย์ที่เป็นที่นิยมอย่างแพร่หลายในหมู่นักวิเคราะห์ สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 แนวทางหลัก ได้แก่
1. การวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน (FUNDAMENTAL ANALYSIS)
2. การวิเคราะห์ปัจจัยทางเทคนิค (TECHNICAL ANALYSIS)
สำหรับการวิเคราะห์ปัจจัยทางเทคนิคนั้น เป็นแนวทางที่อาศัยการวิเคราะห์การเคลื่อนไหวของราคา และปริมาณการซื้อขายของหลักทรัพย์ในอดีตที่ผ่านมา เพื่อคาดการณ์ถึงแนวโน้มของราคา รวมถึงระดับราคาที่ควรจะซื้อหรือขาย ทั้งในระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาว
ข้อดีของการวิเคราะห์ปัจจัยทางเทคนิค คือการที่นักลงทุนอาศัยหลักสถิติมาใช้ในการพยากรณ์ โดยใช้เพียงในเรื่องของราคา และปริมาณการซื้อขายของหลักทรัพย์ในอดีตเท่านั้น สำหรับนำมาใช้ในการวิเคราะห์ ซึ่งต่างจากการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน ที่ต้องอาศัยข้อในด้านต่าง ๆ มากมาย ดังนั้นจึงทำให้นักลงทุนที่ใช้วิธีการวิเคราะห์ปัจจัยทางเทคนิค เสียเวลาในการรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลน้อยกว่าการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน
โดยเหตุผลเบื้องต้นที่จะทำให้การวิเคราะห์ปัจจัยทางเทคนิคมีความน่าเชื่อถือนั้น ประกอบไปด้วยสมมุติฐาน 3 ประการ ดังนี้
1. ราคาเป็นผลรวมที่สะท้อนให้ทราบถึงข่าวสารในด้านต่าง ๆ ทั้งหมดแล้ว
2. ราคาจะเคลื่อนไหวอย่างมีแนวโน้ม และจะคงอยู่ในแนวโน้มนั้น ๆ ในช่วงระยะเวลาหนึ่ง จนกว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงแนวโน้ม
3. พฤติกรรมการลงทุนของนักลงทุน จะยังคงมีลักษณะที่คล้ายคลึงกับพฤติกรรมการลงทุนในอดีต
อย่างไรก็ดี บทความนี้ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อที่จะชี้นำให้นักลงทุนซื้อ หรือขายหลักทรัพย์ใดหลักทรัพย์หนึ่ง ด้วยวิธีการใดวิธีการหนึ่งเป็นการเฉพาะ เพียงแต่เป็นการนำเสนอแนวทางในการวิเคราะห์ปัจจัยทางเทคนิค ซึ่งส่วนหนึ่งอาศัยหลักการทางสถิติมาประยุกต์ ดังนั้นการนำแนวทางการวิเคราะห์ที่นำเสนอนี้ไปใช้ในทางปฏิบัติ จึงต้องระลึกไว้เสมอว่า โอกาสที่จะเกิดความผิดพลาดย่อมเป็นไปได้ เนื่องจากความถูกต้องอยู่ในระดับของความน่าจะเป็นท่านั้น ไม่สามารถยืนยันความถูกต้องได้ทุกครั้ง และหากสมมุติฐานที่กล่าวไว้ข้างต้นมีการเปลี่ยนแปลงไป ย่อมจะมีผลต่อความถูกต้องของหลักการวิเคราะห์ที่นำเสนอไว้ในบทความนี้ด้วย เช่นกัน ไม่มากก็น้อย
ในทางปฏิบัติ นักลงทุนจึงควรใช้ข้อมูลที่ได้ทั้งจากการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน และปัจจัยทางเทคนิคมาประกอบการตัดสินใจลงทุน ทั้งนี้เพื่อให้ได้ผลการตัดสินใจที่มีความถูกต้องและน่าเชื่อถือยิ่งขึ้น
โดย REUTERS(THAILAND)LTD./IRS LTD.
0 ความคิดเห็น :