Like us

สูตรคำนวณ เลือกหุ้น 1

อธิบายเรื่องการใช้ตัวเลขสูตรคำนวณต่างๆ เพื่อเอามาใช้เลือกหุ้น
โดยเริ่มแรก สิ่งที่เรามองเป็นลำดับแรกในการเลือกลงทุนกับบริษัทหนึ่งๆ ก็คือ ความสามารถในการทำกำไร เป็นเรื่องปกติที่เวลาทำธุรกิจก็อยากทำธุรกิจที่กำไรดี ค้าขายคล่องมือ สำหรับบทความนี้ เราจะได้เรียนรู้ถึงสูตรคำนวณพื้นฐานการเลือกหุ้นในด้านความสามารถในการทำกำไร


ตัวแรกที่เราจะต้องรู้จักเลยก็คือ Gross Margin เรียกว่า อัตรากำไรขั้นต้น วิธีคิดก็เอากำไรขั้นต้นหารด้วยยอดขาย อัตรากำไรขั้นต้นนี้ยิ่งมากยิ่งดีครับ คิดง่ายๆ ก็คือคุณซื้อเสื้อมาตัวละ 100 บาท แล้วขายได้ที่ 200 บาท นั่นก็คืออัตรากำไรขั้นต้น 100% ครับ
ตัวที่สองเป็น Operating Margin เรียกว่า อัตรากำไรจากการดำเนินธุรกิจ วิธีคิดก็เอากำไรจากการดำเนินธุรกิจหารด้วยยอดขาย อัตรากำไรจากการดำเนินธุรกิจนี้ ก็เหมือนอัตรากำไรขั้นต้นคือยิ่งสูงยิ่งดี คิดง่ายๆก็คือ เมื่อขายเสื้อได้ 200 บาท หักต้นทุนออก 100 บาทแล้ว คุณต้องหักค่ารถที่ไปขนของ หักเงินเดือนพนักงานที่คุณจ้างมาช่วยขาย หักค่าเช่าร้าน เป็นต้น
ตัวที่สามเป็น Net profit margin เรียกว่า อัตรากำไรสุทธิ วิธีคิดก็คือเอากำไรสุทธิตั้งหารด้วยยอดขาย อัตรากำไรสุทธินี้ยิ่งมากก็ยิ่งดีเช่นกัน คิดง่ายๆ เมื่อหักต้นทุนค่าใช้จ่ายต่างๆออกจนหมดแล้ว ทีนี้คุณยังต้องหักกำไรออกเพื่อจ่ายดอกเบี้ย หากคุณกู้ยืมเงินมา และหักกำไรออกเพื่อเสียภาษี ก็จะเหลือกำไรสุทธินั่นเอง
พอเหลือกำไรสุทธิแล้ว ก็จะถึงค่าตัวเลขที่ใครก็อยากได้เห็นก็คือ Earning per Share หรือ EPS เรียกว่า กำไรต่อหุ้น วิธีคิดตามงบการเงินก็คือเอากำไรสุทธิหารด้วยจำนวนหุ้นสามัญเฉลี่ยถ่วง น้ำหนัก แต่ที่ผมใช้อยู่และอยากให้ทำตามก็คือ ให้รวมจำนวนหุ้นสามัญ หุ้นบุริมสิทธิ และวอร์แรนท์เข้าด้วยกันทั้งหมด เพราะว่า หุ้นบุริมสิทธิก็มีส่วนในการแบ่งผลกำไร และวอร์แรนท์ก็จะถูกแปลงเป็นหุ้นสามัญ หรือ หุ้นบุริมสิทธิในอนาคต อีกทั้งยังมาทำให้ค่า EPS นี้ลดลงอีกด้วย ถ้าหากบริษัทไม่สามารถทำกำไรเพิ่มขึ้นได้
ทีนี้มาดูตัวอย่างกัน งบการเงินในส่วนของงบกำไรขาดทุน จะมีสองแบบ ดังนี้
รายได้จากการขาย xxx บาท
รายได้จากการบริการ xxx บาท
รายได้อื่นๆ xxx บาท
รายได้รวม xxx บาท
ต้นทุนขาย xxx บาท
ต้นทุนบริการ xxx บาท
ต้นทุนอื่นๆ xxx บาท
กำไรก่อนจ่ายดอกเบี้ยและภาษี xxx บาท
ดอกเบี้ยจ่าย xxx บาท
ภาษีจ่าย xxx บาท
กำไรสุทธิ xxx บาท
และอีกแบบเป็น
ยอดขาย xxx บาท
ต้นทุนขาย xxx บาท
กำไรขั้นต้น xxx บาท
ค่าใช้จ่าย xxx บาท
กำไรจากการดำเนินงาน xxx บาท
รายได้อื่นๆ xxx บาท
รายจ่ายอื่นๆ xxx บาท
ดอกเบี้ยจ่าย xxx บาท
ภาษีจ่าย xxx บาท
กำไรสุทธิ xxx บาท
เนื่องจากบางงบการเงินจะใช้คำอธิบายแตกต่างกัน แต่ความหมายเดียวกัน เช่น กำไรจากการดำเนินงาน คืออันเดียวกันกับ กำไรก่อนจ่ายดอกเบี้ยและภาษี และงบการเงินในส่วนของงบกำไรขาดทุน สามารถทำได้สองแบบตามที่ยกตัวอย่างให้ดู ทำให้การคำนวณบางสูตรอาจทำได้ลำบาก และในส่วนอัตรากำไรนี้ มักจะเน้นที่อัตรากำไรจากการดำเนินงาน กับ อัตรากำไรสุทธิ เป็นหลักด้วย
อีกสองสูตรคำนวณ ก็คือ ROA (Retuen on Asset) และ ROE (Return on Equity) เรียกเป็นภาษาไทยว่า อัตรากำไรสุทธิต่อสินทรัพย์ และ อัตรากำไรสุทธิต่อส่วนผู้ถือหุ้น ROA เป็นการวัดอัตราผลตอบแทนของสินทรัพย์ทั้งหมดที่บริษัทมีใช้ในการดำเนิน ธุรกิจ ยิ่งมากก็ยิ่งดีครับ ROE เป็นการวัดอัตราผลตอบแทนเทียบกับส่วนที่เป็นของผู้ถือหุ้นเท่านั้น ยิ่งมากก็ยิ่งดีเช่นกัน
ROA ก็มาจาก กำไรสุทธิหารด้วยสินทรัพย์รวม บางคนอาจจะเข้มงวดหน่อย ก็เอาสินทรัพย์รวมงวดก่อนบวกกับงวดปัจจุบันแล้วหารสองให้ได้ค่าเฉลี่ย ก็จะทำให้ได้ค่าตัวเลขที่เข้มงวดขึ้น
ROE ก็คล้ายกันแค่เปลี่ยนจากสินทรัพย์รวม มาเป็นส่วนของผู้ถือหุ้นเท่านั้น และก็ยังเอาส่วนของผู้ถือหุ้นงวดก่อนรวมกับงวดปัจจุบันแล้วหารเอาค่าเฉลี่ย ด้วย
สำหรับสองค่านี้ เป็นค่าหนึ่งที่นิยมใช้กันเพื่อนำไปเปรียบเทียบกับบริษัทอื่นที่อยู่ใน อุตสาหกรรมเดียวกันว่า สามารถให้อัตราผลตอบแทนเทียบกับสินทรัพย์ และเงินลงทุนของผู้ถือหุ้น บริษัทไหนทำได้ดีกว่ากัน บริษัทที่คำนวนได้มากกว่า ยอมดีกว่า แต่จะดียิ่งขึ้นถ้าหากสามารถสร้างผลตอบแทนได้ในอัตราใกล้เคียงกันต่อเนื่อง ไปหลายๆปี
ที่มา : www.thaihoon.com
  

0 ความคิดเห็น :

ข่าวการศึกษา