Like us

การวิเคราะห์งบการเงิน

การวิเคราะห์งบการเงิน
ข้อมูลต่างๆ ที่ได้จากงบการเงินเป็นข้อมูลที่มีความสำคัญยิ่งในการตัดสินใจดำเนินโครงการ การวิเคราะห์งบการเงินจึงเป็นกระบวนการสำคัญในการค้นหาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับฐานะทางการเงินและผลการดำเนินงานของโครงการ โดยนำข้อเท็จจริงดังกล่าวมาใช้เป็นส่วนประกอบในการตัดสินใจในการดำเนินโครงการ


7.5.1   วัตถุประสงค์ของการวิเคราะห์งบการเงิน
1) เป็นกระบวนการกลั่นกรองเบื้องต้นในการเลือกโครงการ
2) ช่วยพยากรณ์หรือคาดคะเนฐานะการเงินของโครงการในอนาคต
3) ช่วยประเมินขีดความสามารถในการบริหารการเงินของโครงการ
 เมื่อเป็นเช่นนี้ การตีความหรืออ่านงบการเงินจึงเป็นสิ่งสำคัญ เครื่องมือที่ใช้ในการตีความงบการเงินที่สำคัญเครื่องมือหนึ่งก็คือ อัตราส่วนทางการเงิน (Financial ratios)
7.5.2   อัตราส่วนทางการเงิน
อัตราส่วนทางการเงิน หมายถึง การนำรายการที่ปรากฏอยู่ในงบการเงินตั้งแต่สองรายการขึ้นไปมาหาความสัมพันธ์ โดยผลลัพธ์ที่ได้แสดงอยู่ในรูปร้อยละ หรือสัดส่วน หรือระยะเวลา แม้กระทั่งจำนวนรอบ จำนวนครั้ง เป็นต้น
อัตราส่วนทางการเงินที่คำนวณได้ไม่ให้ความหมายอะไร นอกจากต้องแปลความหมายโดยการเปรียบเทียบ ซึ่งการเปรียบเทียบกระทำได้ 3 ทาง คือ
 1)            เปรียบเทียบกับค่ามาตรฐาน (สำหรับประเทศไทยยังไม่มี)
 2)            เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของหน่วยธุรกิจประเภทเดียวกันหรือคู่แข่ง
 3)            เปรียบเทียบกับค่าที่ได้แต่ละปีตลอดอายุโครงการ
7.5.2  ประเภทของอัตราส่วนทางการเงิน
 การแบ่งประเภทอัตราส่วนการเงินในที่นี้จะแบ่งตามวัตถุประสงค์ของการบริหารการเงินซึ่งแบ่งได้ 4 ประเภทหลัก ๆ ดังนี้
1)            อัตราส่วนวัดความคล่องตัวทางการเงิน (Liquidity ratio)
 2)            อัตราส่วนวัดประสิทธิภาพในการใช้ทรัพย์สิน (Activity ratio)
 3)            อัตราส่วนวัดฐานะหนี้สินหรือความสามารถในการก่อหนี้ (Leverage ratio)
 4)            อัตราส่วนวัดความสามารถในการทำกำไร (Profitability ratio)
 การแบ่งประเภทดังกล่าวเพียงเพื่อความสะดวกแก่ผู้วิเคราะห์ทางการเงินเท่านั้น การใช้ประโยชน์จากค่าอัตราส่วนทางการเงินไม่สามารถใช้เพียงอัตราใดอัตราหนึ่งเป็นตัวแสดงผลลัพธ์ทางการเงินของการวิเคราะห์ทางการเงิน จำเป็นต้องอาศัยกลุ่มของอัตราส่วนทางการเงินในการหาข้อเท็จจริงที่เกี่ยวกับฐานะทางการเงินและผลการดำเนินงานของโครงการเป็นสำคัญ
1)   อัตราส่วนวัดความคล่องตัวทางการเงิน  (Liquidity Ratio or Ratios of Short-Term Solvency)
ความคล่องตัวหมายถึง ความสามารถชำระหนี้ระยะสั้น ดังนั้น อัตราส่วนประเภทนี้จะวัดความสามารถของโครงการในการจ่ายภาระทางการเงินอันเกิดจากการก่อหนี้ระยะสั้นเมื่อครบกำหนดนั่นคือพิจารณาว่า ทรัพย์สินหมุนเวียนต้องมากกว่าหนี้สินหมุนเวียน ทรัพย์สินที่สามารถเปลี่ยนเป็นเงินสดได้ง่ายมีจำนวนมากน้อยเพียงใด เพื่อดูความคล่องตัวทางการเงิน เพราะหนี้สินหมุนเวียนเป็นภาระที่ต้องชำระเมื่อครบกำหนด
 อัตราส่วนทางการเงินต่อไปนี้สามารถบอกได้ว่า หน่วยธุรกิจหรือโครงการ X ที่กำลังพิจารณา ดังตาราง 7.1 และ 7.2 สามารถจ่ายชำระภาระผูกพันของหนี้สินหมุนเวียนได้หรือไม่
 1.1)  อัตราส่วนเงินทุนหมุนเวียน (Current Ratio)
ปี ค.ศ. 2000


อัตราส่วนเงินทุนหมุนเวียน =

ทรัพย์สินหมุนเวียน
=
   761
=   1.57



หนี้สินหมุนเวียน
   486
 อัตราส่วน 1.57  ตีความได้ว่า หนี้สินระยะสั้นที่จะครบกำหนด 1 ปี ทุกๆ 1 บาท มีทรัพย์สินหมุนเวียนที่จะเปลี่ยนเป็นเงินสดภายในเวลา 1 ปี เช่นกัน จำนวน 1.57 บาท ที่จะนำมาชำระหนี้ได้ดังกล่าวอีกนัยหนึ่งคือ หนี้สินระยะสั้นคิดเป็น 64% ของทรัพย์สินหมุนเวียน แสดงว่า ถ้าหน่วยธุรกิจต้องเลิกกิจการไป ณ เวลานั้น เจ้าหนี้ระยะสั้นจะมีส่วนความปลอดภัยอยู่ 36%
 อัตราส่วนเงินทุนหมุนเวียนเป็น ratio ที่นิยมใช้กันมาก เพราะนอกจากจะเป็นการใช้เครื่องมือวัดความคล่องตัวในการชำระหนี้สินระยะสั้นแล้ว ยังใช้วัดความปลอดภัยของผู้บริหารการเงินของหน่วยธุรกิจกรณีที่เงินไหลเข้าน้อยกว่าเงินไหลออก ดังนั้น โครงการลงทุนจำเป็นต้องมีทรัพย์สินหมุนเวียนสำรองไว้เสมอ โดยเฉพาะทรัพย์สินหมุนเวียนที่เปลี่ยนเป็นเงินสดได้เร็ว ซึ่งสามารถเรียงลำดับรายการตามความเร็วของการเปลี่ยนเป็นเงินสดได้ดังนี้
  1. เงินสดในมือและเงินฝากธนาคาร
  2.  เงินฝากเฉพาะที่จ่ายดอกเบี้ยและเงินปันผลปัจจุบัน
  3.  เงินลงทุนชั่วคราว เช่น หลักทรัพย์ที่มีค่าแน่นอน
  4. ตั๋วรับเงิน เช่น ตั๋วสัญญาใช้เงิน ตั๋วแลกเงิน หุ้นกู้  หรือพันธบัตรที่ครบกำหนดไถ่ถอนภายใน 1 ปี
  5. ลูกหนี้การค้า
  6. สินค้าคงคลัง
  7.  ค่าใช้จ่ายล่วงหน้า

 อย่างไรก็ตาม แม้ว่าธุรกิจจะมีอัตราส่วนเงินทุนหมุนเวียนเท่ากัน แต่โครงการที่มีทรัพย์สินหมุนเวียนส่วนใหญ่เป็นเงินสด ย่อมมีความคล่องตัวในการจ่ายภาระหนี้สินระยะสั้นได้ดีกว่าหน่วยธุรกิจที่มีทรัพย์สินหมุนเวียนส่วนใหญ่เป็นสินค้าคงคลัง
 1.2)         หลักการตีความ
  ก.  ถ้าอัตราส่วนเงินทุนหมุนเวียนมีค่าต่ำกว่าปกติหรือปีที่ผ่านมาอย่างมาก แสดงว่า อาจประสบปัญหาการชำระหนี้
  ข. ถ้าอัตราส่วนเงินทุนหมุนเวียนสูงผิดปกติ อาจเป็นไปได้ว่า หน่วยธุรกิจไม่ได้ใช้เงินอย่างประหยัด นั่นคือ อาจมีสินค้าคงคลังมากเกินไป ล้าสมัย ขายไม่ออก ลูกหนี้ขายเชื่อมีจำนวนมากหรือถือเงินสดเป็นจำนวนมาก
 1.3)  อัตราส่วนทรัพย์สินคล่องตัว (Quick Ratio หรือ Acid Test Ratio)
ปี ค.ศ. 2000


อัตราส่วนทรัพย์สินคล่องตัว =      
ทรัพย์สินหมุนเวียน - สินค้าคงคลัง
    =
 492
   = 
1.01
               หนี้สินหมุนเวียน
 486

 นักวิเคราะห์ทางการเงินเห็นว่า สินค้าคงคลังเป็นทรัพย์สินที่มีความคล่องตัวน้อยที่สุดในการเปลี่ยนเป็นเงินสด  ratio นี้จะวัดว่า โครงการมีทรัพย์สินที่มีความคล่องตัวมากหรือเปลี่ยนเป็นเงินสดได้เร็ว (quick assets) มากน้อยเพียงใดในการชำระหนี้สินระยะสั้นที่จะครบกำหนด
 จากการคำนวณเห็นได้ว่า ถ้า ratio ของหน่วยธุรกิจนี้สูงกว่าค่าเฉลี่ยของอุตสาหกรรม แสดงว่า มีทรัพย์สินหมุนเวียนที่มีสภาพคล่องมากเมื่อเทียบกับคู่แข่ง เจ้าหนี้ระยะสั้นทุก ๆ 1 บาทหน่วยธุรกิจมีทรัพย์สินหมุนเวียนที่มีสภาพคล่องมากพอที่จะชำระหนี้ได้เร็ว 1.01 บาท ถ้าสามารถจัดเก็บหนี้ได้ตามที่ปรากฏในงบดุล และขายพันธบัตรที่ถืออยู่ออกไป ก็จะหมดปัญหาภาระหนี้สินระยะสั้น อาจไม่จำเป็นต้องพึ่งพาเงินจากการขายสินค้าคงคลังมาชำระหนี้แต่อย่างใด  ปัญหาอยู่ที่ต้องเก็บหนี้ให้เร็วที่สุด
 2)  อัตราส่วนวัดประสิทธิภาพในการใช้ทรัพย์สิน (Activity Ratios)
 เป็นอัตราส่วนที่ใช้วัดประสิทธิภาพในการใช้ทรัพย์สินของหน่วยธุรกิจ โดยเปรียบเทียบยอดขายกับทรัพย์สินประเภทต่าง ๆ ที่ลงทุนไป ซึ่งระดับการลงทุนทรัพย์สินขึ้นกับปัจจัยหลายประการ อาทิ จำนวนสินค้าคงคลังตอนปลายปีขึ้นอยู่กับสินค้าคงคลังที่มีตอนต้นปี ฯลฯ ระดับที่เหมาะสมของการลงทุนในทรัพย์สิน พิจารณาจากยอดขายผลผลิตอันเกิดจากใช้ทรัพย์สินที่ลงทุนจัดหามาใช้ในโครงการ ผลลัพธ์ของอัตราส่วนที่คำนวณได้จะอยู่ในรูปความเร็วของอัตราการหมุนของการใช้ทรัพย์สิน อัตราการหมุนของสินค้า อัตราการหมุนของลูกค้า อัตราการหมุนของทรัพย์สินถาวร ซึ่งจะวัดประสิทธิภาพในการบริหารทรัพย์สินประเภทนั้น ๆ ที่โครงการลงทุนไป
2.1)  อัตราการหมุนของทรัพย์สินรวม (Total Asset Turnover)
ปี ค.ศ. 2000


อัตราการหมุนของทรัพย์สินรวม   =
             ยอดขาย
  =
             2,262
=
1.25

    ทรัพย์สินรวมโดยเฉลี่ย
   (1,879 + 1,742)/2


 อัตราส่วนนี้ชี้ให้เห็นถึงประสิทธิภาพในการใช้ทรัพย์สินทั้งหมดของโครงการ ถ้าอัตราส่วนนี้มีค่าสูง แสดงว่า ใช้ทรัพย์สินอย่างมีประสิทธิภาพในการผลิตผลผลิตออกขายสู่ตลาด ถ้าอัตราส่วนนี้มีค่าต่ำ แสดงว่า มีการใช้ทรัพย์สินถาวรไม่เต็มที่หรือตามหนี้ได้ช้า ต้องหาทางเพิ่มยอดขายหรือไม่ก็ต้องจัดการนำทรัพย์สินมาใช้ให้เต็มที่ ปัญหาบางประการในการตีความอัตราส่วนนี้คือ การที่อัตราส่วนนี้มีค่าสูงนั้นอาจเกิดจากการใช้สินทรัพย์เก่า เพราะมูลค่าตามบัญชีของสินทรัพย์เหล่านี้ต่ำกว่าสินทรัพย์ใหม่ที่พึ่งซื้อมาใช้ในโครงการ ดังนั้น จะมีการลงทุนในทรัพย์สินถาวรเพียงเล็กน้อย อาทิเช่น หน่วยธุรกิจประเภทค้าส่ง-ค้าปลีก มักจะมีอัตราส่วนประเภทนี้สูง เมื่อเทียบกับหน่วยผลิตที่มีการลงทุนในสินทรัพย์ถาวรจำนวนมาก เช่น โรงงานอุตสาหกรรม จากผลลัพธ์การคำนวณปี 2000 เท่ากับ 1.25 ตีความได้ว่า หน่วยธุรกิจมีอัตราการหมุนของทรัพย์สินรวม 1.25 ครั้ง ถ้าตัวเลขนี้ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของอุตสาหกรรมย่อมแสดงว่า หน่วยธุรกิจนี้ใช้ประโยชน์จากสินทรัพย์ไม่เต็มที่ ถ้าเราวัดประสิทธิภาพในการใช้สินทรัพย์ถาวรโดยตรง ก็สามารถกระทำได้โดยปรับสูตรหาอัตราการหมุนของสินทรัพย์ถาวร (Fixed assets turnover)

ปี ค.ศ. 2000


อัตราการหมุนของสินทรัพย์ถาวร   =
  ยอดขายสุทธิ
 =
2,262
 =
1.59
 ทรัพย์สินถาวร
1,423
  อัตราส่วนนี้บอกให้ทราบถึงความสามารถในการใช้ทรัพย์สินถาวร (อาคาร โรงงาน เครื่องมือเครื่องจักร) ถ้าตัวเลขสูงแสดงว่าหมุนได้มากครั้ง ใช้ประโยชน์จากสินทรัพย์ถาวรได้มากขึ้น อันมีผลให้ค่าเฉลี่ยของค่าเสื่อมราคาสินทรัพย์ถาวรต่อหน่วยลดต่ำลงและทำให้กำไรของหน่วยธุรกิจเพิ่มขึ้น
 ผลลัพธ์จากการคำนวณอัตราส่วนนี้เรียกว่า อัตราการหมุนของสินทรัพย์ถาวร เท่ากับ 1.59 ครั้ง  ซึ่งถ้าตัวเลขนี้ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของอุตสาหกรรมย่อมแสดงว่า  ใช้ทรัพย์สินถาวรไม่เต็มที่ สาเหตุที่เป็นเช่นนี้อาจเกิดจากยอดขายต่ำเกินไป หรืออาจมีสินทรัพย์ถาวรมากเกินไป หรือชำรุดเสียหายไม่ซ่อมแซมและใช้การไม่ได้ แต่ยังมีมูลค่าปรากฏในบัญชี
 2.2) อัตราการหมุนเวียนของลูกหนี้ (Account Receivable Turnover) และระยะเวลาจัดเก็บหนี้โดยเฉลี่ย (Average Collection Period)
ปี ค.ศ. 2000



อัตราการหมุนเวียนของลูกหนี้   =
               ยอดขายเชื่อ
=
      2,262
=
8.02 ครั้ง
             ลูกหนี้ถัวเฉลี่ย
(294 + 270)/2



ระยะเวลาจัดเก็บหนี้โดยเฉลี่ย     =
                  365 วัน
=
         365
=
45.5 วัน
อัตราการหมุนเวียนของลูกหนี้
         8.02
 อัตราส่วนทั้งสองสะท้อนถึงนโยบายการใช้สินเชื่อของหน่วยธุรกิจว่าจากยอดขายเชื่อทั้งปีโดยเฉลี่ยจัดเก็บหนี้ได้กี่ครั้ง ใช้ระยะเวลากี่วัน จากผลลัพธ์การคำนวณหน่วยธุรกิจตามเก็บหนี้ได้ 8.02 ครั้ง โดยใช้เวลา 45.5 วัน ซึ่งถ้าปีที่ผ่านมาใช้เวลาน้อยกว่า 45.5 วัน ในการจัดเก็บหนี้ก็แสดงว่า ปี 2000 นี้ มีปัญหาในการจัดเก็บหนี้ ต้องเร่งเก็บหนี้ และถ้านโยบายการใช้สินเชื่อไม่ได้เปลี่ยนแปลงแล้ว อัตราส่วนจะชี้วัดว่า ต้องมีการปรับปรุงกระบวนการจัดเก็บหนี้อย่างมีประสิทธิภาพ
นโยบายการให้สินเชื่อที่เข้มงวดหรือหย่อนเกินไปจะไม่มีผลดี ถ้านโยบายเข้มงวดเกินไปจะเป็นผลเสียต่อลูกหนี้การค้าที่เป็นลูกหนี้ที่ดี เพราะจะกีดขวางการขายผลผลิตของหน่วยธุรกิจ กำไรจะลดลง แต่ถ้าใช้นโยบายที่หย่อนเกินไป คือ ระยะเวลาการเก็บหนี้ยาวนาน ลูกหนี้ค้างชำระเกินกำหนดจะมีจำนวนมาก และถ้าส่วนใหญ่เรียกเก็บหนี้ไม่ได้ จะกลายเป็นหนี้สูญ  ผลคือกำไรจะลดลง ดังนั้น ควรกำหนดนโยบายการให้สินเชื่อมาตรฐาน ซึ่งนักวิเคราะห์ทางการเงินมักกำหนดว่าระยะเวลาจัดเก็บหนี้ประมาณ 20 วัน
 อย่างไรก็ตามเพื่อให้การจัดเก็บหนี้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ควรได้มีการจัดทำตารางอายุลูกหนี้ (Aging the accounts receivable schedule) อันเป็นตารางแสดงระยะเวลาในการเป็นหนี้ของลูกหนี้ ดังตัวอย่างต่อไปนี้
อายุลูกหนี้ (วัน)
อัตราร้อยละของลูกหนี้
0 2
20
21 30
40
31 45
10
46 60
5
มากกว่า 60
25
รวม
100
 จากตารางแสดงให้เห็นว่า หน่วยธุรกิจนี้ประสบปัญหาในการจัดเก็บหนี้อย่างหนัก โดย 80% ของลูกหนี้เกินกำหนดเวลามาตรฐานในการชำระหนี้ (20 วัน) โดยเฉพาะหนี้อายุเกิน 60 วันมีถึง 25% มีผลให้ระยะเวลาจัดเก็บหนี้ถัวเฉลี่ยเท่ากับ 45.5 วัน
 ตารางอายุลูกหนี้มีประโยชน์ในการวิเคราะห์คุณภาพของลูกหนี้ ทบทวนนโยบายการใช้สินเชื่อ วางแผนจัดการลูกหนี้ที่มีปัญหาและตั้งสำรองหนี้สูญ
 2.3) อัตราการหมุนเวียนของสินค้าคงคลัง (Inventory Turnover) และระยะเวลาในการจำหน่ายสินค้า (Days in Inventory)
ปี ค.ศ. 2000



อัตราการหมุนเวียนของสินค้าคงคลัง  =
   ต้นทุนสินค้าที่ขาย
=
       1,655
=
6.03  ครั้ง

  สินค้าคงคลังถัวเฉลี่ย
(296 + 280)/2

สินค้าคงคลังถัวเฉลี่ย  =
สินค้าต้นงวด + สินค้าปลายงวด



                       2



ระยะเวลาการจำหน่ายสินค้า  =
                        365 วัน
=
 365
=
60.5 วัน
อัตราการหมุนเวียนของสินค้าคงคลัง
 6.03

อัตราส่วนทั้งสองใช้วัดว่า หน่วยธุรกิจสามารถผลิตและจัดหาสินค้ามาขายได้กี่ครั้งและแต่ละครั้งที่ขายโดยเฉลี่ยใช้เวลากี่วัน ยิ่งขายมากครั้งและใช้เวลาสั้นยิ่งดี นั่นคือ ชี้ให้เห็นถึงอัตราการเคลื่อนไหวของสินค้าคงคลัง ถ้าจำนวนครั้งของการหมุนยิ่งต่ำแสดงว่ามีสินค้าคงคลังเหลืออยู่เป็นจำนวนมากขายไม่ออก  แต่ถ้าจำนวนครั้งของการหมุนยิ่งมากแสดงว่า สินค้าที่มีอยู่ในมือไม่พอขายตามความต้องการของตลาด
 จากผลลัพธ์การคำนวณอัตราส่วนดังกล่าวแสดงว่า ถ้าปี ค.ศ. 2000 หน่วยธุรกิจมีจำนวนครั้งของอัตราการหมุนของสินค้ายิ่งน้อย และระยะเวลาการขายสินค้ายิ่งมากเมื่อเทียบค่าเฉลี่ยอุตสาหกรรม หน่วยธุรกิจจะประสบปัญหาจากการจัดเก็บสินค้าไว้มากเกินความจำเป็นหรืออาจมียอดขายที่ต่ำมาก ไม่มีประสิทธิภาพในการบริหารสินค้าคงคลัง
 3) อัตราส่วนวัดความสามารถในการก่อหนี้ (Leverage ratio)
 อัตราส่วนนี้สามารถวัดความแข็งแกร่งทางการเงินและความสามารถในการบริหารการเงิน และถ้าพิจารณาจากงบดุลแล้วจะเห็นได้ว่า หน่วยธุรกิจที่มีส่วนของผู้ถือหุ้นมากกว่าหนี้สิน ย่อมมีฐานะทางการเงินดีกว่าหน่วยธุรกิจที่มีส่วนของผู้ถือหุ้นต่ำกว่ากว่าหนี้สิน  อัตราส่วนนี้แบ่งเป็น 3 ประเภทคือ
 3.1)  อัตราส่วนแห่งหนี้สินรวม
  
 อัตราส่วนแห่งหนี้สินรวม  = อัตราส่วนแห่งหนี้สินรวม ใช้วัดว่าหน่วยธุรกิจมีหนี้สินเป็นกี่เท่าของทรัพย์สิน นั่นคือทรัพย์สินที่หน่วยธุรกิจจัดหามานั้นได้มาจาการก่อหนี้เท่าไหร่
 (1)  อัตราส่วนหนี้ – ส่วนผู้เป็นเจ้าของ 

  อัตราส่วนหนี้ – ส่วนผู้เป็นเจ้าของ  =  

อัตราส่วนที่แสดงถึงโครงสร้างของเงินทุนว่ากิจการได้รับเงินมาลงทุนจากสัดส่วนของหนี้สินหรือจากส่วนของผู้เป็นเจ้าของ ตามปกติอัตราส่วนหนี้สินรวมต่อส่วนของผู้เป็นเจ้าของที่อยู่ในเกณฑ์ปกติจะมีค่าเท่ากับ 1 เท่า คือใช้เงินลงทุนจากเจ้าหนี้และจากเจ้าของเท่า ๆ กัน แต่ไม่จำเป็นเสมอไป บางกิจการอาจสามารถดำเนินงานได้ดี แม้ว่ามีอัตราส่วนหนี้สินรวมต่อส่วนของผู้เป็นเจ้าของกว่า 1 ก็ตาม หาก อัตราส่วนนี้มีค่าสูง ก็แสดงว่าได้รับเงินส่วนใหญ่มาจากเจ้าหนี้ ซึ่งทำให้กิจการมีความเสี่ยงสูงในการชำระดอกเบี้ยและเงินต้น
 (2)  ตัวคูณส่วนผู้เป็นเจ้าของ

ตัวคูณส่วนผู้เป็นเจ้าของ   อัตราส่วนที่แสดงถึงทรัพย์สินทั้งหมดที่มีอยู่เป็นกี่เท่าของส่วนผู้เป็นเจ้าของ ถ้ามีค่ามาก นั่นหมายถึง ทรัพย์สินส่วนใหญ่ได้มาจากการก่อหนี้ ฐานะทางการเงินของหน่วยธุรกิจนี้ไม่มั่นคงอัตราส่วนยิ่งสูงยิ่งชี้ว่า หน่วยธุรกิจอยู่ในสภาพอ่อนแอไม่มั่นคง
  (3)  อัตราส่วนวัดความสามารถในการจ่ายภาระดอกเบี้ย
 อัตราส่วนวัดความสามารถในการจ่ายภาระดอกเบี้ย    อัตราส่วนนี้วัดความสามารถของหน่วยธุรกิจในการนำกำไรก่อนหักภาษีและดอกเบี้ยมาจ่ายดอกเบี้ยแก่เจ้าหนี้
3.2)  อัตราส่วนวัดความสามารถจ่ายค่าใช้จ่ายทางการเงิน

  อัตราส่วนวัดความสามารถจ่ายค่าใช้จ่ายทางการเงิน =  อัตราส่วนนี้บอกให้ทราบว่า หน่วยธุรกิจมีกำไรจากการดำเนินงานเป็นกี่เท่าของรายจ่ายตามข้อผูกพันทางการเงิน
  4)   อัตราส่วนวัดความสามารถในการทำกำไร (Profitability ratio)

4.1)  กำไรขั้นต้น  =          คือ กำไรก่อนหักค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร
4.2)  กำไรสุทธิ (Profit after tax)     กำไรสุทธิ   คือ  กำไรขั้นต้น- ค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ในการดำเนินงาน - ภาษีที่ต้องจ่าย
 4.3)  ผลตอบแทนจากกำไรสุทธิ  ผลลัพธ์ค่าสูงยิ่งดี แสดงให้เห็นประสิทธิภาพในการดำเนินงานของบริษัทในการทำกำไรหลังจากหักต้นทุนค่าใช้จ่ายรวมทั้งภาษีเงินได้แล้ว
4.4)  ผลตอบแทนสุทธิต่อสินทรัพย์รวม       ROA   ยิ่งค่ามากยิ่งดี เป็นอัตราส่วนแสดงประสิทธิภาพในการทำงาน (Efficiency Ratio) ROA การวัดความสามารถในการทำกำไรของสินทรัพย์ทั้งหมดที่ธุรกิจใช้ในการดำเนินงานว่าให้ผลตอบแทนจากการดำเนินงานได้มากน้อยเพียงใด หากมีค่าสูงแสดงถึงการใช้สินทรัพย์อย่างมีประสิทธิภาพ
 4.5)  ผลตอบแทนสุทธิจากส่วนของผู้ถือหุ้นหรือผู้เป็นเจ้าของ (Return on Equity : ROE)
ROE   อัตราส่วนนี้แสดงถึงในรอบระยะเวลาบัญชีที่ผ่านมาผู้ถือหุ้นได้รับผลตอบแทนจากกิจการนี้เท่าไหร่


0 ความคิดเห็น :

ข่าวการศึกษา