งบกระแสเงินสด (Statement of Cash Flow)
งบกระแสเงินสด (Statement of Cash Flow)
งบกระแสเงินสด
เป็นอีกรูปแบบหนึ่งของงบแสดงการเปลี่ยนแปลงฐานะการเงินของกิจการ ซึ่งจะเน้นเฉพาะในส่วนของการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับเงินสดและรายการที่เทียบเท่าเงินสด เช่น
เงินฝากธนาคารหรือเงินลงทุนระยะสั้นที่มีสภาพคล่องสูงเท่ากับเงินสด โดยงบกระแสเงินสดจะช่วยให้ผู้บริหาร หรือบุคคลภายนอก
ตลอดจนนักลงุทนได้ทราบว่าในรอบปีที่ผ่านมาแท้ที่จริงแล้วกิจการได้รับเงินสดและใช้จ่ายเงินสดในกิจกรรมใดบ้าง ด้วยเหตุนี้
งบกระแสเงินสดจึงถือได้ว่าเป็นแหล่งข้อมูลที่จะแสดงให้เห็นถึงนโยบายในการบริหารเงินสดของกิจการ การตัดสินใจทางด้านการเงิน และการวางแผนในอนาคตเพื่อความมั่งคั่งของกิจการ
การจัดทำงบกระแสเงินสด
ได้แบ่งการวิเคราะห์กระแสเงินสดของกิจการที่เปลี่ยนแปลงไปในงวดบัญชีที่ผ่านมาออกเป็น 3 ส่วนดังนี้
1) กระแสเงินสดจากกิจกรรมดำเนินงาน (Cash
from operating activity)
2) กระแสเงินสดจากกิจกรรมการลงทุน (Cash from investing activity)
3) กระแสเงินสดจากกิจกรรมจัดหาเงินทุน (Cash from financing
activity)
การจำแนกกระแสเงินสดในลักษณะนี้
จะช่วยให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์มากยิ่งขึ้นต่อผู้ใช้งบการเงินในการประเมินผลการดำเนินงานของกิจการต่าง
ๆ ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว
1) กระแสเงินสดจากกิจกรรมดำเนินงาน
หมายถึง กระแสเงินสดที่เกิดจากกิจกรรมหลักที่ก่อให้เกิดรายได้ของกิจการ เช่น
จากการขายสินค้า
จากการจ่ายภาษีเงินได้
จากการจ่ายดอกเบี้ย
จากการซื้อสินค้า
การจ่ายค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานต่าง ๆ รวมถึงรายได้อื่น ๆ ที่เกิดจากการดำเนินงานของกิจการ เป็นต้น
2) กระแสเงินสดจากกิจกรรมการลงทุน
หมายถึง
กระแสเงินสดที่เกิดจากการซื้อและจำหน่ายสินทรัพย์ถาวรและเงินลงทุนระยะสั้นและระยะยาวต่าง
ๆ
นอกจากนี้ยังอาจจะรวมถึงดอกเบี้ยรับ
และเงินปันผลที่ได้รับจากการลงทุนในหลักทรัพย์ลงทุนต่าง ๆ
3) กระแสเงินสดจากกิจกรรมจัดหาเงินทุน หมายถึง กระแสเงินสดที่เกิดจากการจัดหาเงินทุนในหนี้สินระยะยาว และส่วนของเจ้าของ เช่น
การกู้ยืมและการชำระหนี้คืน
การออกหุ้นทุนเพิ่มและการเงินปันผล
เป็นต้น
รูปแบบการจัดทำงบกระแสเงินสดสามารถทำได้
2 วิธี คือ วิธีทางตรงและทางอ้อม แต่ในเนื้อหาบทที่
7 นี้ ขอนำเสนอวิธีทางตรงเพียงวิธีเดียว คือ วิธีทางตรง (Direct Method) ซึ่งเป็นวิธีที่จะแสดงเงินสดรับและเงินสดจ่ายจากกิจกรรมดำเนินงานต่าง ๆ
เช่น เงินสดรับจากการขายสินค้า เงินสดจ่ายค่าซื้อสินค้า เงินสดจ่ายในค่าใช้จ่ายการดำเนินงาน ดอกเบี้ยจ่ายและค่าภาษีเงินได้ เป็นต้น
0 ความคิดเห็น :