Like us

บทวิเคราะห์แนวโน้มราคา ทองคำ และ ซิลเวอร์ วันที่ 18 ธันวาคม 2555 โดยบริษัท คลาสสิกโกลด์ฟิวเจอร์ส จำกัด (ช่วงเช้า)


 บทวิเคราะห์แนวโน้มราคา ทองคำ และ ซิลเวอร์ วันที่ 18 ธันวาคม 2555 โดยบริษัท คลาสสิกโกลด์ฟิวเจอร์ส จำกัด (ช่วงเช้า) 


ราคาทองคำในตลาด COMEX  ปิดที่ 1,698.20 USDต่อออนซ์  มีความเคลื่อนไหวในกรอบ 1,686 - 1,699 USDต่อออนซ์
ราคา ทองคำมีการอ่อนตัวในช่วงต้นการซื้อขาย เนื่องจากราคาขาดปัจจัยหนุนในระยะสั้น และนักลงทุนมีการปรับพอร์ตและขายทำกำไรออกมาก่อนวันหยุดยาว
ในช่วง คริสต์มาสจนถึงปีใหม่ แต่ทั้งนี้ หลังจากดัชนีภาวะธุรกิจโดยรวม เดือนธ.ค.ร่วงลงมาอยู่ที่ -8.1 ส่งผลให้ค่าเงิน US อ่อนค่า และหนุนราคาทองคำกลับขึ้นมา
อีกทั้งความคืบหน้าในการเจรจาเพื่อหลีกเลี่ยงภาวะหน้าผาการคลัง ที่นายจอห์น โบห์เนอร์ ประธานสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐจากพรรครีพับลิกัน
เห็น ชอบกับข้อเสนอที่ให้มีการขึ้นภาษีกับคนรวย ซึ่งถือเป็นประเด็นหลักของการเจรจาเกี่ยวกับการหลีกเลี่ยงภาวะหน้าผาการ คลัง  เป็นอีกแรงหนุนราคาทองคำ
ทั้งนี้ ประเด็นการเจรจาดังกล่าวยังไม่สิ้นสุด นักลงทุนจึงยังต้องติดตามการเจรจาเรื่อง Fiscal cliff ต่อไป รวมถึง
การประชุมกำหนดนโยบายของญี่ปุ่นในวันพุธและพฤหัสบดี เพื่อดูทิศทางการกำหมดมาตรการผ่อนคลายนโยบาลทางเศรษฐกิจ ซึ่งสำหรับภาพทางเทคนิค
ในระยะสั้นเริ่มส่งสัญญาณบวก อาจพบการ Rebound ต่อ หากทะลุผ่าน 1,700 อย่างแข็งแกร่ง โดยมีแนวต้านถัดไปบริเวณ 1,707/1,715
ทั้งนี้ ภาพระยะกลางยังเป็นลบ จึงอาจพบการขายทำกำไรในทุกระดับแนวต้าน   



Read More »

0 ความคิดเห็น :

Convergence Bearish


Convergence Bearish

สัญญาณคล้อยตามกัน หรือมีทิศทางเดียวกัน ระหว่างราคาและตัวชี้วัด 
วันนี้เห็นกราฟอียู 30 นาที แสดงลักษณะของ Convergence 
ราคา .. ราคาได้แสดงจุดสูงสุดใหม่ที่เกิดขึ้นต่ำกว่าจุดสูงสุดเก่าที่ราคาเคยทำ จากรูปที่ผมได้วงไว้ จะเห็นว่า H2 ต่ำกว่า H1 และ H3 ต่ำกว่า H2 ลักษณะเช่นนี้ คือ ลักษณะของการเกิดแนวโน้มขาลง (Down Trend)

Indicator : มาพิจารณาที่ตัวชี้วัดกันบ้างนะครับ เราจะเห็นว่าจุดสูงสุดใหม่ของ Indicator ก็จะต่ำกว่าจุดสูงสุดเก่าที่มันเคยทำไว้ และเมื่อเราลากเส้นเปรียบเทียบกันเราก็จะพบว่า Slop หรือความชันลาดลง นี่แสดงให้เห็นว่า Indicator กำลังบ่งบอกเราว่าจะเกิดแนวโน้มขาลงในไม่ช้า

เปรียบเทียบระหว่าง ราคาและ Indicator 
-เมื่อราคาทำจุดสูงสุดใหม่ต่ำกว่าสุดสูงสุดเก่า และ Indicator ก็ทำจุดสูงสุดใหม่ ต่ำกว่าสุดสูงสุดเก่า ลักษณะแบบนี้เราเรียกว่า Convergence 
Bearish 


Read More »

0 ความคิดเห็น :

กองทุนโจรสลัด (Hedge Funds)

     
กองทุนโจรสลัด (Hedge Funds) 
   สวัสดีครับเพื่อนๆ วันนี้มีโอกาสได้อ่านเกี่ยวกับ Hedge Funds ซึ่งเป็นเนื้อหาที่น่าสนใจ ก็เลยเอามาเขียนให้เพื่อนๆได้อ่านกันครับ จากหนังสือ "วิธีเก็งกำไรการเงินโลก"     
      กองทุนโจรสลัดหรือที่เรียกกันว่า Hedge Funds มีบทบาทในการสร้างความปั่นป่วนให้กับระบบการเงินโลกหลายครั้งหลายคราเช่นในปี 1992 อัตราแลกเปลี่ยนของหลายๆประเทศในโลกอุตสาหกรรม ต่างผันผวนไปตามๆกัน เพราะการโจมตีของกองทุนโจรสลัดในปี 1994 ตลาดตราสารหนี้ทั้งโลกปั่นป่วนด้วยเหตผลเดียวกันรวมทั้งวิกฤติต้มยำกุุ้งในเอเชียตะวันออกเฉียงไต้ในปี 1997 ด้วย 
  

Read More »

0 ความคิดเห็น :

จิตวิทยาในการเล่นหุ้น

จิตวิทยาในการเล่นหุ้น
จากหนังสือ คัมภีร์หุ้น

       ทำไมหลายคนซื้อหุ้นตัวไหนตัวนั้นจะลง แต่พอขายแล้วหุ้นกลับขึ้น หลายคนที่เล่นหุ้นในปัจจุบันจะรู้สึกเหมือนโชคไม่เข้าข้าง จริงๆแล้วมันเป็นเรื่องของดวงหรืออะไรกันแน่ ทฤษฎีการลงทุนต่างๆ ควรจะใช้ได้ดี เพราะหลักการลงทุนผู้ลงทุนควรจะเลือกลงทุนสิ่่งที่ดีและอยากได้กำไรไม่อยาก ขาดทุน แต่จริงๆกลยุทธิ์ต่างๆกลับใช้ไม่ได้ผลเพราะนักลงทุนแต่ละคนเองมี"อคติ"ยอม ขาดทุน หากคิดว่าหุ้นจะลงต่อ หรือยอมซื้อของที่แพงมากหากคิดว่ามันจะขึ้นไปต่อ สิ่งที่นักลงทุนทุกคนใช้ จริงๆจึงเป็นการ"คาดคะเน" ใช้ "สมอง"ประมวลสิ่งต่างๆจากข่าวสารและปัจจัยโดยรอบแต่หารู้ไม่ว่า สมองมีกระบวนการตัดสินใจลึกๆภายในที่ขึ้นอยู่กับ"อารมณ์"มากกว่า "เหตผล"ยกตัวอย่างการเลือกคู่ครองที่ใช้อารมณ์มากกว่าเหตผลแม้คนที่เรียน เก่ง มีสมองดีที่สุดก็มักใช้อารมณ์เป็นตัวตัดสินเรื่องที่สำคัญที่สุดในชีวิต มากกว่าเหตผล
      นาย เวอร์นอน สมิธ นักเศรษฐศาสตร์รางวัลโนเบลปี 2002 ผู้ที่ศึกษาการเงินเชิงพฤติกรรมเคยกล่าวไว้ว่า "นักลงทุนทุกคนมีกล่องดำที่เป็นส่วนประมวลผลการตัดสินใจอยู่ในสมองโดยไม่มี ใครรู้ว่ากล่องดำอันนี้มีวิธีในการตัดสินใจอย่างไร แต่กระบวนการตัดสินใจนี้ไม่มีเหตผล เปลี่ยนแปลงไปตามสภาวะของจิตใจเป็นหลัก" เมื่อคนแต่ละคนไม่ได้ใช้ความมีเหตุ มีผลในการคิดแล้วการลงทุนที่เป็นสิ่งสะท้อนความคิดของนักลงทุนแต่ละคน ย่อมไม่มีเหตุผล ตลาดหุ้นเป็นสิ่งที่คาดเดาไม่ได้เลย มีคนเคยตั้งคำถามว่า ทำไมคนที่เรียนด้านการลงทุน เก่งที่ 1-10 อันดับของระดับมหาวิทยาลัย Wharton กับไม่เคยมีชื่อเสียงในวงการลงทุนเลย ทำไมคนที่ IQ สูงขนาดนั้นถึงได้ไม่ประสบผลสำเร็จในตลาดหุ้นกัน


Read More »

0 ความคิดเห็น :

กฎการลงทุนของ Victor Sperandeo

กฎการลงทุนของ Victor Sperandeo

สวัสดีครับเพื่อนๆ วันนี้ว่างๆก็เลยขุดหาหนังสือมาอ่านซื้อไว้นานแล้วแต่ไม่ได้อ่านซักที(ชื่อหนังสือ คัมภีร์หุ้น) อ่านไป อ่านมาไปเจอหัวข้อ กฎการลงทุนของ Victor Sperandeo  ซึ่งได้แปลและย่อมาจากหนังสือ Methods Of Wall Street Master  นาย Victor เป็นคนมีชื่อเสียงในฐานะนักลงทุนที่ประสบความสำเร็จในตลาดหุ้น Wall Street มากว่า 23 ปี โดยเขาบอกว่าประสบการณ์ลงทุนทั้งหมดสามารถสรุปได้เป็น 19 ข้อ ดังนี้






กฎข้อที่ 1 ลงทุนอย่างมีแบบแผน และปฎิบัติตามแผนที่วางไว้อย่างเคร่งครัด
            ก่อนลงทุน Victor บอกว่าจะต้องรู้เป้าหมายและโอกาสจะไปถึงเป้าหมาย ซึ่งหมายถึงการกำหนดแนวทางในการตัดสินใจ ถ้าเกิดเหตุการณ์ต่างๆขึ้นไม่ว่าจะเป็นด้านบวกหรือด้านลบ และจะต้องรู้ระยะเวลาในการลงทุนของตัวเอง เช่น เราเป็นนักลงทุยระยะสั้น ระยะกลาง หรือระยะยาว ความหมายในกฎข้อแรกของ Victor คือก่อนการลงทุนทุกครั้งต้อง "รู้เรา" หรือรู้จัก "ตัวเอง" ก่อน



Read More »

0 ความคิดเห็น :

กลยุทธ์การลงทุนใน SET 50 INDEX OPTION

    ดร. ธีระศักดิ์ ณ ระนอง
       อาจารย์ประจำภาควิชาการเงินการธนาคาร
       มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ (ABAC)

     
       บทความนี้ขอกลับมาพูดถึงการลงทุนใน Options ครับ หลังจากที่ห่างหายจากเรื่องนี้ไปนาน โดยตามที่ได้ติดตามการซื้อขายใน SET 50 Index Option แล้วสังเกตว่ามีการซื้อขายที่ไม่มากนัก แต่ก็น่าจะเป็นการเริ่มต้นที่มั่นคงก่อนการซื้อขายจะเพิ่มขึ้นครับ ปัญหาที่เกิดขึ้นในขณะนี้ก็คือการขาดสภาพคล่อง (Liquidity) ของการซื้อขาย ซึ่งปัจจัยหลักๆ นอกเหนือจากปัจจัยทางเศรษฐกิจ แล้วก็คือการขาดความรู้และความเข้าใจใน Options ทำให้นักลงทุนไม่ค่อยกล้าที่จะลงทุนใน Options มากนัก ฉะนั้นบทความนี้ผมขอเสนอกลยุทธ์การลงทุนที่เหมาะกับภาวะที่มีการเคลื่อนไหว ของราคาและความผันผวนของตลาดอย่างมากให้นักลงทุนได้ศึกษากัน คือ กลยุทธ์แบบ Straddle, Strip, Strap, และ Strangle ซึ่งแตกต่างจากการลงทุนแบบกลยุทธ์เบื้องต้น เช่น Long Call, Short Call, Long Put และ Short Put


Read More »

0 ความคิดเห็น :

โลกในมุมมองของ Value Investor

โลกในมุมมองของ Value Investor 1 ธันวาคม 55

ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร

งานเลี้ยงที่กำลังร้อนแรง

   เวลาที่ไปงานเลี้ยงหรือปาร์ตี้เพื่อความบันเทิงนั้น ช่วงหัวค่ำที่คนเริ่มทยอยมาบรรยากาศก็มักจะยังไม่รื่นเริงนัก ดนตรีก็มักจะเล่นเพลงเบาๆ สบายๆ เมื่อคนเริ่มมากขึ้น  บรรยากาศก็จะคึกคักขึ้น คนเริ่มจิบเหล้าเบียร์และคุยกันสนุกสนาน ดนตรีเริ่มดังขึ้น เพลงเริ่มเร็วขึ้น หลายคนเริ่ม “เปิดฟลอร์” ออกไปเต้นรำ ซักระยะหนึ่งแอลกอฮอก็เริ่มออกฤทธิ์ คนออกไป “ดิ้น” กันเต็มพื้นที่ ดนตรีเล่นเพลงที่เร้าใจและดังจนคุยกันไม่รู้เรื่อง งานเลี้ยงกำลังเข้าสู่ช่วงเวลาที่ “สนุกและร้อนแรงที่สุด” มันอาจจะเป็นเวลา สี่ทุ่มครึ่ง ห้าทุ่ม หรืออาจจะใกล้เที่ยงคืนที่เป็นกำหนดเวลา “งานเลิก” ไม่มีใครรู้หรือสนใจที่จะรู้เพราะในเวลาที่ทุกคนกำลังสนุกสนานนั้น พวกเขามักจะ “ลืมดูเวลา” ไม่มีใครอยากจะออกจากงานก่อนที่มันจะเลิก—แม้จะมีกฎว่า คนที่ออกหลังสุดต้อง “จ่ายสตางค์”

   นั่นเป็นคำบรรยายแบบเปรียบเปรยกับบรรยากาศของตลาดหุ้นในขณะนี้ที่ดัชนีตลาดหุ้นปรับพุ่งขึ้นเรื่อยๆ นับจากต้นปีที่ 1025 จุดเป็น 1324 จุดในวันที่ 30 พฤศจิกายน 2555 หรือเป็นการเพิ่มขึ้นถึง 29% ไม่นับรวมปันผลอีก 3-4% ซึ่งทำให้นักลงทุนที่มีหุ้นในตลาดมีกำไรเป็นกอบเป็นกำ จริงอยู่ การที่หุ้นปรับขึ้นมามากๆ ในเวลาอันรวดเร็วนั้น ไม่ใช่เรื่องที่ผิดปกติ หลายปีที่ผ่านมาหุ้นก็ปรับตัวสูงแบบนี้มาหลายครั้ง แต่การปรับตัวในรอบก่อนๆ นั้นก็มักจะเป็นการปรับตัวขึ้นหลังจากที่ตลาดหุ้นตกลงมาอย่างหนัก ดังนั้น คนที่ถือหุ้นอยู่ตลอดเวลาก็อาจจะไม่ได้กำไรนัก อาจจะเพียงแต่ได้ทุนคืนมา แต่การปรับขึ้นของหุ้นในรอบนี้เป็นการขึ้นหลังจากที่หุ้นได้ขึ้นมาสูงแล้ว ดัชนีที่ 1324 นี้ถือเป็นดัชนีที่สูงที่สุดในรอบ 16 ปี ดังนั้น สำหรับนักลงทุนส่วนใหญ่ในตลาดหุ้นที่เข้ามาลงทุนในตลาดเพียงไม่กี่ปีหรือไม่เกิน 10 ปี นี่คือเวลาแห่งความ “รื่นเริง” อย่างแน่นอน ประเด็นก็คือ ความ “สนุกสนาน” จากการลงทุนในช่วงนี้กำลังใกล้จบหรือไม่ ดัชนีหุ้นในขณะนี้สูงเกินไปหรือไม่ และโอกาสที่หุ้นจะปรับตัวลงแรงและทำให้คนที่เข้ามาซื้อหุ้นในช่วงนี้ขาดทุนหรือไม่ มาลองคุยกัน

Read More »

0 ความคิดเห็น :

วิเคราะห์หลักทรัพย์ จากปัจจัยพื้นฐาน 2

การวิเคราะห์หลักทรัพย์โดยใช้ปัจจัยพื้นฐาน เป็นการวิเคราะห์ที่ลำดับการพิจารณาจากสภาพเศรษฐกิจ มายังสภาพอุตสาหกรรมตลอดถึงผลการดำเนินงานของบริษัท โดยรวบรวมข้อมูลทางเศรษฐกิจ อุตสาหกรรม และของบริษัทมาวิเคราะห์แต่ละส่วน เพื่อนำไปสู่การคาดการณ์ผลการดำเนินงานในอนาคตของบริษัท
ในการเปลี่ยนแปลงของภาวะเศรษฐกิจ จะส่งผลกระทบต่อผลการดำเนินงาน และความสามารถในการทำกำไรของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ ตลอดจนระดับราคาของหลักทรัพย์ ผู้วิเคราะห์หลักทรัพย์จึง จำเป็นต้องพิจารณาดัชนีชี้ภาวะเศรษฐกิจ เช่น ผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติเบื้องต้น และข้อมูลทางเศรษฐกิจอื่น ๆ ได้แก่ ข้อมูลเกี่ยวกับอัตราดอกเบี้ยในปัจจุบันและที่คาดไว้ในอนาคต นโยบายการเงินและนโยบายการคลัง รวมทั้งนโยบายเศรษฐกิจอื่น ๆ ของรัฐบาล ฯลฯ



Read More »

0 ความคิดเห็น :

วิเคราะห์หลักทรัพย์ จากปัจจัยพื้นฐาน 1

หน้าที่หนึ่งของนักวิเคราะห์หลักทรัพย์ จำเป็นที่จะต้องวิเคราะห์ข้อมูล ตรวจสอบ และตัดสินใจให้สอดคล้องกับเป้าหมายการลงทุนที่ผู้ลงทุนตั้งไว้อย่างชัดเจนและสมเหตุสมผล
การวิเคราะห์หลักทรัพย์ถือเป็นการวิเคราะห์อัตราผลตอบแทนที่คาดหวังเพื่อให้ ได้มาซึ่งหลักทรัพย์และกลุ่มหลักทรัพย์ลงทุนที่ดีที่สุด ที่ให้ผลตอบแทนดีที่สุด ณ ความเสี่ยงระดับหนึ่ง


Read More »

0 ความคิดเห็น :

สูตรคำนวณ เลือกหุ้น 2

หลังจากที่เราได้รู้ถึงความสามารถในการทำกำไรของบริษัทไปแล้ว เรื่องต่อไปที่สำคัญไม่แพ้กัน
ก็คือ การวัดสภาพคล่องของบริษัท สภาพคล่องก็คือ การที่บริษัทมีเงินคล่องมือ เงินเข้า เงินออก ได้อย่างไม่สะดุด จะต้องไม่กู้เงินมาจ่ายแก้ขัด เพราะถ้ากู้บ่อยๆ ย่อมไม่เป็นผลดีกับบริษัท และในเรื่องความสามารถในการกู้เงิน ก็จะมีในบทความต่อไป
การวัดสภาพคล่องของบริษัทมีการวัดอยู่ด้วยสามสูตร เรียกว่า Current ratio, Working capital และ Quick Ratio โดยทั้งสามจะใช้วัดว่าบริษัทมีเงินมากพอสำหรับการใช้จ่ายในธุรกิจที่จะเจอใน รอบ 1 ปีได้หรือไม่
Current Ratio มาจาก สินทรัพย์หมุนเวียน หารด้วย หนี้สินหมุนเวียน ค่าที่ได้ ถ้ามากกว่า 1 ย่อมแสดงว่า มีสินทรัพย์หมุนเวียนที่จะสามารถทำให้กลายเป็นเงิน หรือขายออกไปแล้วได้เงินเข้ามา ไปจ่ายหนี้สินหมุนเวียนได้ และยังมีเงินเหลือ แต่ถ้าน้อยกว่า 1 ก็แสดงว่าสินทรัพย์หมุนเวียนน้อยกว่าหนี้สินหมุนเวียน ไม่ได้แสดงว่าไม่ดีซะทั้งหมด เราต้องเข้าใจรูปแบบของธุรกิจนั้นๆด้วย แต่ธุรกิจส่วนใหญ่แล้ว การมีสภาพคล่องดี ย่อมเป็นสิ่งที่ดี
อย่างที่สองก็คือ Working Capital หมายถึง เงินทุนหมุนเวียน มาจากสินทรัพย์หมุนเวียน ลบด้วย หนี้สินหมุนเวียน ถ้าหากเหลือมาก ก็แสดงว่ามีเงินเหลือเยอะ ไม่ต้องกังวล แต่การเหลือมากเกินไปก็ไม่ได้หมายความว่าจะดี เพราะไม่สามารถใช้สินทรัพย์ที่มี สร้างรายได้และกำไรได้อย่างมีประสิทธิภาพ
และสุดท้ายก็คือ Quick Ratio มาจาก เงินสด+ลูกหนี้การค้า+สินค้าคงคลัง แล้วหารด้วย หนี้สินหมุนเวียน สำหรับวิธีนี้ จะทำให้ได้เห็นสภาพคล่องที่เข้มงวดขึ้น เพราะในความเป็นจริงแล้ว สามอย่างที่นำมาบวกกัน คือของจริงที่ใช้ทำเงิน ทำรายได้ หรือ นำไปใช้หนี้ รวมถึงในการดำเนินธุรกิจจริงๆ ผลที่ได้ออกมาจะเหมือน Current ratio ยิ่งมากยิ่งดี
มีการนำสูตรเหล่านี้มาประยุกต์ใช้ในการคำนวนเลือกหุ้น เช่น การนำ Working Capital มาหารด้วยจำนวนหุ้นทั้งหมด เพื่อให้ทราบถึงเงินทุนหมุนเวียนต่อหุ้น เป็นเท่าไหร่ ถ้าราคาหุ้นถูกกว่าที่คำนวนได้ แสดงให้เห็นว่า ราคาหุ้นที่ซื้อขายกันนั้นถูกกว่าความเป็นจริง ถ้าหากคุณซื้อหุ้นได้มากจนเข้าไปบริหาร คุณก็เหมือนกันซื้อของ 1 บาทด้วยเงินเพียง 50 สตางค์เลย
แต่ว่าสูตรเดียวนั้นยังไม่เพียงพอกับการคัดเลือก จำต้องใช้หลายๆอย่างเข้าด้วยกัน และต้องเข้าใจธุรกิจนั้นให้ดีซะก่อน มิฉะนั้นแล้ว คุณอาจจะมองภาพได้ผิด และซื้อหุ้น หรือลงทุนไปแล้วผิดพลาดได้
ที่มา : http://www.thaihoon.com


0 ความคิดเห็น :

สูตรคำนวณ เลือกหุ้น 1

อธิบายเรื่องการใช้ตัวเลขสูตรคำนวณต่างๆ เพื่อเอามาใช้เลือกหุ้น
โดยเริ่มแรก สิ่งที่เรามองเป็นลำดับแรกในการเลือกลงทุนกับบริษัทหนึ่งๆ ก็คือ ความสามารถในการทำกำไร เป็นเรื่องปกติที่เวลาทำธุรกิจก็อยากทำธุรกิจที่กำไรดี ค้าขายคล่องมือ สำหรับบทความนี้ เราจะได้เรียนรู้ถึงสูตรคำนวณพื้นฐานการเลือกหุ้นในด้านความสามารถในการทำกำไร



Read More »

0 ความคิดเห็น :

มูลค่าที่แท้จริง Intrinsic Value

หัวใจสำคัญของ Value Investment คือ การคิดคำนวณหามูลค่าที่แท้จริงหรือที่เรียกว่า Intrinsic Value ของ หุ้น แล้วมาดูว่าราคาหุ้นที่ซื้อขายในตลาดมีราคาเท่าไร ถ้าราคาหุ้นในตลาดต่ำกว่า Intrinsic Value มาก เราก็เรียกว่าหุ้นตัวนั้นเป็น หุ้นคุณค่า? หรือ Value Stock เราก็จะซื้อเก็บไว้ เพราะเราเชื่อว่า ในที่สุดราคาหุ้นก็จะปรับตัวขึ้นมาที่ ราคาที่แท้จริง หรือราคาที่ควรเป็น เราก็จะได้กำไร ในทางตรงกันข้าม ถ้าราคาหุ้นตัวนั้นสูงกว่า Intrinsic Value เราก็ไม่ควรซื้อ หรือถ้ามีหุ้นอยู่ก็ควรจะขายทิ้ง เพราะในที่สุดราคาหุ้นก็จะปรับตัวลงมาหามูลค่าที่แท้จริง นี่ก็เป็นหลักการที่ง่ายและสั้น แต่ปัญหาของ Value Investor ก็คือ อะไรคือ Intrinsic Value และจะคำนวณหาได้อย่างไร?

Read More »

0 ความคิดเห็น :

สอนวิธีเล่นหุ้นให้รวย

1) ท่านควรเล่นหุ้นที่มีปัจจัยพื้นฐานดี …คำว่าปัจจัยพื้นฐานดีหมายความว่า
1.1) หุ้นนั้นมีอนาคต คือ ทำธุรกิจและมีรายได้มากกว่าค่าใช้จ่าย ได้ผลลัพธ์ออกมาเป็นกำไรสุทธิ
1.2) หุ้นที่มีกำไรสุทธิตามข้อ 1.1) จะจ่ายเงินปันผลได้ …แต่ต้องระวังข้อ 1.3)
1.3) ต้องใส่ใจดูว่าหุ้นนั้นมีขาดทุนสะสมหรือไม่ ในกรณีมีขาดทุนสะสม และเกิดกำไรสุทธิในปีปัจจุบัน แต่กำไรยังไม่มากพอ หุ้นนั้นก็ยังคงขาดทุนสะสมอยู่ ไม่สามารถจะจ่ายเงินปันผลได้
1.4) ยกตัวอย่างข้อ 1.3) หุ้นนั้นมีขาดทุนสะสม 100 ล้านบาท มีกำไรสุทธิในปีนี้ 20 ล้านบาท หุ้นนี้ยังมีขาดทุนสะสมอีก 80 ล้านบาท แต่การดูแค่นี้ไม่ได้หมายความว่า หุ้นนี้จะไม่น่าลงทุน ท่านยังต้องดูข้อ 1.5) ต่อ
1.5) หุ้นนี้มีส่วนเกินมูลค่าหุ้นหรือไม่ …ส่วนเกินมูลค่าหุ้น คือ ตอนที่หุ้นนี้ถูกขายให้ประชาชนในราคา 30 บาท/หุ้น ในขณะที่มูลค่าที่กำหนดอยู่ที่ 10 บาท/หุ้น เกิดส่วนเกินมูลค่าหุ้น หุ้นละ 20 บาท …จำนวนส่วนเกินมูลค่าหุ้นทั้งหมดนี้ท่านสามารถดูได้จากงบดุลตรงส่วนทุน หากดูแล้วปรากฏว่าเป็นตัวเลข 150 ล้านบาท งานนี้หุ้นจะวิ่งขึ้นพอสมควรครับ เพราะมีความหมายว่าขาดทุนสะสมจะหมดไปได้ หากบริษัทนั้นลงมติโดยที่ประชุมผู้ถือหุ้นให้นำส่วนเกินมูลค่าหุ้น 150 ล้านบาทนั้นมาล้างขาดทุนสะสมจำนวน 80 ล้านบาท
1.6) บริษัทเลยมีกำไรสะสมทันที 70 ล้านบาท สามารถจ่ายเงินปันผลได้ (การล้างขาดทุนสะสม ด้วยส่วนล้ำมูลค่าหุ้นเป็นไปตาม พ.ร.บ.บริษัทมหาชน)
1.7) นอกจากมีกำไรและไม่มีขาดทุนสะสมแล้ว หุ้นนั้นยังเติบโตได้เรื่อยๆ พูดง่ายๆ ก็คือ บริษัทสามารถขยายกิจการและสร้างรายได้ได้ต่อไป… มีกำไรโดยตลอด นี่แหละหุ้นที่มีปัจจัยพื้นฐานดี



2) ท่านควรเล่นหุ้นที่มีลักษณะของการทำธุรกิจแบบผูกขาด หรือเป็นผู้นำในตลาด… ดำเนินธุรกิจในตลาดแบบผูกขาด แบบผู้ขายน้อยราย แบบกึ่งแข่งขันกึ่งผูกขาด …ไม่ใช่ดำเนินธุรกิจในตลาดแข่งขันสมบูรณ์ เพราะหุ้นแบบที่กล่าวไปจะมีกำไรสุทธิต่อยอดขายสูง มีปันผลในอัตราสูง หรือหากปัจจุบันยังไม่มีเงินปันผล แต่หากในอนาคตไม่มีใครจะเข้ามาแข่งขัน (ผูกขาด) ก็หมายความว่าหุ้นนี้จะราคาสูง ถึงแม้ว่าจะได้ปันผลต่ำ แต่ในระยะยาวจะได้กำไรจากส่วนต่างของราคาหุ้น และจะได้ปันผลสูงในอนาคต อย่าง PTT, PTTEP เป็นต้น
3) ถ้าเป็นผม ผมจะเล่นหุ้นที่เตรียมตัวจะทะยานขึ้น ผมมักจะเล่นหุ้นที่มีลักษณะตามข้อ 1) คืออาจจะขาดทุนแต่เริ่มกำไร จากกำไรแล้วเริ่มเติบโตอย่างมั่นคง หุ้นลักษณะแบบนี้จะราคาถูกในตอนต้น หากถือไว้จะได้กำไรจากส่วนต่างของราคาหุ้นเป็นอย่างมาก
4) นอกจากการเล็งหุ้นตามข้อ 3) ผมยังรู้ว่าหุ้นทุกตัวนั้นจะมีวงจรชีวิต ดังนั้นผมจะซื้อหุ้นตอนที่หุ้นฟื้นคืนชีพจากจุดต่ำสุด คือธุรกิจเริ่มฟื้นตัว มีกำไร แต่ยังขาดทุนสะสม หุ้นลักษณะนี้ราคาจะต่ำ เหมาะแก่การลงทุนในระยะกลาง …ท่านจะได้กำไรมาก
5) เนื่องจากจำนวนหุ้นมีมากมายหลายร้อยตัว ผมจึงเฝ้าดูการซื้อขายของหุ้นแต่ละตัวในทุกวัน โดยดูจากข้อมูลในหนังสือพิมพ์ หรือจากแหล่งอื่นใด ผมจะดูให้รู้ว่า มีใครแอบไปเก็บหุ้นเอาไว้ในหน้าตักของตัวเองบ้าง เพราะก่อนการขึ้นของราคาหุ้นจะมีไอ้โม่งมาแอบเก็บของเสมอ
6) จากข้อ 5) เมื่อผมเริ่มเอะใจกับหุ้นตัวใด ผมจะเข้าไป Print งบการเงินและสารสนเทศของบริษัทนั้นๆ ใน www.sec.or.th เอามาอ่านให้หนำใจ เพื่อที่จะได้จินตนาการโอกาสทางธุรกิจของหุ้นตัวนั้นออกว่า มีอนาคตหรือไม่อย่างไร
7) ขั้นตอนข้อ 6) จะทำให้ผมเกิดความรู้สึกว่าหุ้นนี้น่าซื้อหรือไม่อย่างไร และยังนำมาพิจารณาเทียบเคียงกับเหตุการณ์ในข้อ 5) ทำให้ผมมั่นใจในการตัดสินใจมากขึ้นอีกมาก
8) ก่อนจะไปในขั้นตอนต่อไป ผมคงบอกกับท่านว่า พอผมเอะใจว่ามีคนเก็บหุ้นตัวนี้ ผมจะเริ่มดูว่าหุ้นนี้มีใครเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่บ้าง รายย่อยถือจำนวนเท่าใด …งานนี้ผมต้องรู้ให้ได้ว่ารายใหญ่จะเก็บของกันวันละเท่าไร และเก็บนานกี่วัน …อย่างหุ้น 300 ล้านหุ้น หากมีรายย่อยถือ 30 ล้านหุ้น อาจมีปริมาณการซื้อขาย 2 ล้านหุ้น/วัน โดยที่ราคายังไม่เปลี่ยนแปลง ไอ้ปริมาณ 2.0 ล้านหุ้นที่ซื้อขายกันต่อวัน รายใหญ่อาจเก็บของ (หุ้น) ได้ประมาณซัก 30% ของ 2 ล้านหุ้น ท่านก็ลองคำนวณดูซิครับว่า จะต้องเก็บของกันกี่วัน ท่านเห็นว่ามีสัญญาณแบบนี้ ท่านก็กระโดดเข้าไปซื้อเลยครับ
9) การกระโดดเข้าไปซื้อเป็นเพราะ 1) มีสัญญาณการเก็บของชัดเลย + 2) หุ้นมีพื้นฐานดี + 3) หุ้นมีโอกาสกำไรสะสม + 4) หุ้นมีโอกาสปันผลสูง
10) หลังจากซื้อแล้ว รอเวลาให้หุ้นขึ้น แล้วขายในราคาที่ท่านพอใจ
11) ราคาหุ้นขึ้นเท่าไรจึงจะขายเป็นปัญหาของนักลงทุนทุกคน เพราะส่วนใหญ่มักจะขายเร็วไป …หุ้นยังวิ่งขึ้นไปต่อ …งานนี้ขอแนะนำให้ทดลองทวนกระแสนักวิเคราะห์หุ้นดู ถ้านักวิเคราะห์บอกว่าให้ขาย ลองไม่ขาย อาจจะรวยได้ แต่ถ้าขายก็อาจจะเจ็บใจนักวิเคราะห์ (สาเหตุเป็นเพราะ กราฟที่แสดงข้อมูลทางเทคนิค รายใหญ่สามารถสร้างได้ จะให้เป็นเส้นอะไร บอกสัญญาณอะไร เป็นเรื่องที่หมูเหลือเกิน)
ทั้งหมดที่ผมเขียนอธิบาย เป็นกรณีของหุ้นที่เข้าสู่การเปลี่ยนฐานราคาคือ จาก 4 บาทเป็น 10 บาท จาก 20 บาทเป็น 26 บาท แบบนี้เป็นต้น
จำเอาไว้ว่า หุ้นขึ้นได้เพราะมีคนบงการ สำหรับวิธีการเล่นหุ้นก็คงขอเขียนอธิบายเอาไว้เท่านี้

ที่มา : ชาย กิตติคุณาภรณ์

0 ความคิดเห็น :

ทำไมต้องเรียนรู้ การวิเคราะห์ทางเทคนิค





ทำไมนักลงทุนถึงจำเป็นต้องเรียนรู้ การวิเคราะห์ทางเทคนิค หากคุณเชื่อว่า
- หากคุณเชื่อในกฎของอุปสงค์อุปทาน Demand and Supply
- หากคุณเชื่อว่าคนเราส่วนใหญ่มักซื้อด้วยอารมณ์เพราะความต้องการซื้อ มากกว่าการซื้อด้วยเหตุผลเพราะราคาถูก
- หากคุณเชื่อว่าทุกสิ่งทุกอย่าง จะมีวงจรชีวิตหรือวัฏจักร
- หากคุณเชื่อว่าในตลาดมักมีคนรู้ข้อมูลภายในก่อนคนอื่นเสมอ
- หากคุณต้องการเพิ่มมุมมอง สำหรับการตัดสินใจในการลงทุน
- หากคุณไม่รู้ว่า P/E และ P/BV เท่าไหร่ถึงจะเรียกว่าถูก หรือแพง เพราะในอดีตจะเห็นว่า ค่า Price to Earning ของหุ้นแต่ละตัว ตลาดหุ้นแต่ละตลาด ยังมิได้อยู่นิ่งอยู่กับที่ หรือมึค่าเท่ากันทุกตลาดเลย

ซึ่งสรุปได้ว่า ณ ช่วงเวลาต่างกันในหุ้นตัวเดียวกัน มูลค่ายังมิเท่ากัน เหตุเพราะความต้องการไม่เท่ากันต่างหากที่ทำให้ราคาเปลี่ยนแปลง ดังนั้นหากเรากำหนดสิ่งต่างๆ ว่าถูกหรือแพง โดยการใช้ค่า Price to earning หรือ Price to Book value เพียงอย่างเดียวนั้นคงจะไม่ถูกต้อง มิเช่นนั้นแล้วอัตราดอกเบี้ย อัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา อัตราเงินเฟ้อ หรือราคาน้ำมัน คงจะคงที่เหมือนกันหมด

คนซื้อหุ้นเพราะเกิดจาก อารมณ์ และความคาดหวังว่า หุ้นตัวนั้นดี ราคาไม่แพง หรือน่าที่จะทำกำไรได้ เพราะฉะนั้น การวิเคราะห์ทางเทคนิค เป็นการบอกถึงอารมณ์ของคนที่ ซื้อขายหุ้นตัวนั้นเป็นเช่นไร และมีแนวโน้มไปในทิศทางใด

เหตุเพราะ
- ราคาหุ้นเป็นผลรวมที่สะท้อน ถึงการทราบข่าวสารต่างๆไว้หมดแล้ว
- ราคาเคลื่อนที่อย่างมีแนวโน้ม
- พฤติกรรมในอดีต หรือประวัติศาสตร์มักจะเกิดซ้ำรอย
- ประโยชน์ของการวิเคราะห์ทางเทคนิค
- ไม่จำเป็นต้องติดตามข่าว เพราะทุกสิ่งทุกอย่างจะสะท้อนออกมาทางราคาหรือกราฟอยู่แล้ว
- สามารถหยุดขาดทุนหรือเลือกที่จะขายทำกำไรได้ จากกราฟ
- มีความยืดหยุ่นในการใช้สูง
- ย่นระยะเวลาในการศึกษาในหุ้นแต่ละตัว และทำให้วิเคราะห์หลักทรัพย์ที่จะลงทุนได้มากขึ้น
- สามารถมองเห็นพฤติกรรมของหุ้น ที่จะขึ้นลงได้ก่อนที่การวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานจะค้นหาสาเหตุที่แท้จริงพบ
- สามารถ เก็งกำไร และเลือกลงทุนในระยะสั้น หรือระยะยาวได้

ที่มา : www.investorchart.com



0 ความคิดเห็น :

การวิเคราะห์หลักทรัพย์ โดยใช้กราฟเบื้องต้น

การวิเคราะห์หลักทรัพย์โดยวิธีทางเทคนิคเบื้องต้น
ปัจจุบัน วิธีการวิเคราะห์หลักทรัพย์ที่เป็นที่นิยมอย่างแพร่หลายในหมู่นักวิเคราะห์ สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 แนวทางหลัก ได้แก่
1. การวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน (FUNDAMENTAL ANALYSIS)
2. การวิเคราะห์ปัจจัยทางเทคนิค (TECHNICAL ANALYSIS)



การวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานนั้น เป็นแนวทางที่อาศัยการวิเคราะห์เกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจ การเมืองทั้งในระดับระหว่างประเทศและภายในประเทศ รวมถึงการวิเคราะห์ภาวะของแต่ละอุตสาหกรรม และผลการดำเนินงานในแต่ละบริษัท เพื่อนำมาใช้ในการประเมินหาราคาของหลักทรัพย์ที่เหมาะสม สำหรับการลงทุน ซึ่งโดยส่วนใหญ่จะเป็นการลงทุนในระยะกลางและระยะยาว
สำหรับการวิเคราะห์ปัจจัยทางเทคนิคนั้น เป็นแนวทางที่อาศัยการวิเคราะห์การเคลื่อนไหวของราคา และปริมาณการซื้อขายของหลักทรัพย์ในอดีตที่ผ่านมา เพื่อคาดการณ์ถึงแนวโน้มของราคา รวมถึงระดับราคาที่ควรจะซื้อหรือขาย ทั้งในระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาว
ข้อดีของการวิเคราะห์ปัจจัยทางเทคนิค คือการที่นักลงทุนอาศัยหลักสถิติมาใช้ในการพยากรณ์ โดยใช้เพียงในเรื่องของราคา และปริมาณการซื้อขายของหลักทรัพย์ในอดีตเท่านั้น สำหรับนำมาใช้ในการวิเคราะห์ ซึ่งต่างจากการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน ที่ต้องอาศัยข้อในด้านต่าง ๆ มากมาย ดังนั้นจึงทำให้นักลงทุนที่ใช้วิธีการวิเคราะห์ปัจจัยทางเทคนิค เสียเวลาในการรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลน้อยกว่าการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน

โดยเหตุผลเบื้องต้นที่จะทำให้การวิเคราะห์ปัจจัยทางเทคนิคมีความน่าเชื่อถือนั้น ประกอบไปด้วยสมมุติฐาน 3 ประการ ดังนี้

1. ราคาเป็นผลรวมที่สะท้อนให้ทราบถึงข่าวสารในด้านต่าง ๆ ทั้งหมดแล้ว

2. ราคาจะเคลื่อนไหวอย่างมีแนวโน้ม และจะคงอยู่ในแนวโน้มนั้น ๆ ในช่วงระยะเวลาหนึ่ง จนกว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงแนวโน้ม

3. พฤติกรรมการลงทุนของนักลงทุน จะยังคงมีลักษณะที่คล้ายคลึงกับพฤติกรรมการลงทุนในอดีต

อย่างไรก็ดี บทความนี้ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อที่จะชี้นำให้นักลงทุนซื้อ หรือขายหลักทรัพย์ใดหลักทรัพย์หนึ่ง ด้วยวิธีการใดวิธีการหนึ่งเป็นการเฉพาะ เพียงแต่เป็นการนำเสนอแนวทางในการวิเคราะห์ปัจจัยทางเทคนิค ซึ่งส่วนหนึ่งอาศัยหลักการทางสถิติมาประยุกต์ ดังนั้นการนำแนวทางการวิเคราะห์ที่นำเสนอนี้ไปใช้ในทางปฏิบัติ จึงต้องระลึกไว้เสมอว่า โอกาสที่จะเกิดความผิดพลาดย่อมเป็นไปได้ เนื่องจากความถูกต้องอยู่ในระดับของความน่าจะเป็นท่านั้น ไม่สามารถยืนยันความถูกต้องได้ทุกครั้ง และหากสมมุติฐานที่กล่าวไว้ข้างต้นมีการเปลี่ยนแปลงไป ย่อมจะมีผลต่อความถูกต้องของหลักการวิเคราะห์ที่นำเสนอไว้ในบทความนี้ด้วย เช่นกัน ไม่มากก็น้อย
ในทางปฏิบัติ นักลงทุนจึงควรใช้ข้อมูลที่ได้ทั้งจากการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน และปัจจัยทางเทคนิคมาประกอบการตัดสินใจลงทุน ทั้งนี้เพื่อให้ได้ผลการตัดสินใจที่มีความถูกต้องและน่าเชื่อถือยิ่งขึ้น

โดย REUTERS(THAILAND)LTD./IRS LTD.

0 ความคิดเห็น :

พาราโบลิก PARABOLIC SAR


พาราโบลิก PARABOLIC SAR


เครื่องมือพาราโบลิก PARABOLIC SAR
ปัญหาประการหนึ่งที่ทำให้นักลงทุนบางกลุ่มวิจารณ์ว่า การวิเคราะห์ทางเทคนิค (TECHNICAL ANALYSIS) ขาดความน่าเชื่อถือ คือ ความล่าช้าเนื่องจากเวลา (TIME LAG) เพราะการเคลื่อนที่ของเครื่องมือเทคนิคชนิดต่าง ๆ จะตามหลังราคาหรือดัชนีเสมอ ดังนั้นแนวโน้มที่ได้จึงไม่น่าเชื่อถือ เพราะเกิดจากสิ่งที่ได้เกิดขึ้นแล้ว ซึ่งนาย J. WELLES WILDER ได้ตระหนักถึงปัญหาดังกล่าว จึงได้สร้างเครื่องมือเทคนิคตัวใหม่ขึ้นมาที่เรียกว่า พารา-โบลิก (PARABOLIC)




เพื่อลดความล้าหลังของการวิเคราะห์ทางเทคนิค โดยการเพิ่มความเร่งของสัญญาณของแนวโน้ม เมื่อราคาสามารถทำยอดสูงใหม่หรือต่ำใหม่ โดยพิจารณาให้ความสำคัญเรื่องราคาและเวลาเป็นหลัก และสัญญาณที่ได้เรียกว่า จุดเปลี่ยนแนวโน้ม หรือ STOP AND REVERSAL (SAR) และด้วยเหตุที่ SAR มีการเคลื่อนที่คล้ายรูปแบบ PARABOLIC CURVE เครื่องมือตัวนี้ จึงถูกตั้งชื่อว่า PARABOLIC ณ จุดนี้เองที่บอกนักลงทุนว่าควรเปลี่ยนสถานภาพ กล่าวคือ ถ้านักลงทุนทำการซื้อและถือหุ้นอยู่ (LONG POSITION) และเมื่อเกิด SAR ในวันรุ่งขึ้นอยู่เหนือราคาหุ้น ควรที่นักลงทุนจะขายหุ้นดังกล่าวออกไป หรือในทางตรงกันข้ามถ้าเป็นผู้ขาย (SHORT POSITION) เมื่อเกิด SAR ในวันต่อไปอยู่ต่ำกว่าราคาหุ้นในวันนั้น นักลงทุนควรที่จะซื้อหุ้นนั้นคืนมา


Read More »

0 ความคิดเห็น :

เส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ Moving Average

การคำนวณค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่แบบพื้นฐาน ทำได้โดยนำราคาของวันปัจจุบันและวันก่อนหน้านี้มารวมกัน แล้วหารด้วยจำนวนวันที่ต้องการเฉลี่ยทั้งหมด ซึ่งจะขึ้นอยู่กับเส้นค่าเฉลี่ยนั้นว่า จะนำมาใช้ในการวิเคราะห์แนวโน้มในระยะสั้น กลาง หรือระยะยาว และสำหรับวันถัดไปสามารถหาค่าเฉลี่ยได้ โดยตัดข้อมูลวันแรกสุดออกไป และเอาราคาของวันล่าสุดเข้ามาแทนที่ จากนั้นก็นำมาคำนวณโดยวิธีเดียวกัน เช่น ถ้าต้องการหาค่าเฉลี่ยระยะสั้น 10 วัน ราคาสำหรับ 10 วันสุดท้ายจะถูกนำมารวมกันแล้วหารผลทั้งหมดด้วย 10 เนื่องจากข้อมูลทั้งหมด (ในที่นี้คือ 10 วัน แล้วหารผลทั้งหมดด้วย 10 เนื่องจากข้อมูลทั้งหมด (ในที่นี้คือ 10 วันสุดท้าย) จะถูกเฉลี่ยเคลื่อนที่ (MOVE) ไปข้างหน้า จึงเรียกว่า ค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่






ตัวอย่างสูตรคำนวณ


ช่วงเวลาที่ใช้
ปัจจุบันช่วงเวลาที่นิยมใช้ในการแบ่งกลุ่มของผู้ลงทุน คือ
10 วัน (2 สัปดาห์) ใช้สำหรับการลงทุนระยะสั้น
25 วัน (5 สัปดาห์) ใช้สำหรับการลงทุนระยะค่อนข้างปานกลาง
75 วัน (15 สัปดาห์) ใช้สำหรับการลงทุนระยะกลาง
200 วัน (40 สัปดาห์) ใช้สำหรับการลงทุนระยะยาว


Read More »

0 ความคิดเห็น :

MACD คืออะไร

MACD ( Moving Average Convergence / Divergence ) คือเส้นของค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ของราคา 2 เส้น
สร้างขึ้นโดยใช้ความต่างระหว่างเส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ 2 เส้น โดยที่เส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่เส้นหนึ่ง ใช้ระยะเวลาในการคำนวณยาวกว่าเส้นค่าเฉลี่ยฯ อีกเส้นหนึ่ง และเส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ 2 เส้นนี้ นิยมใช้เส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่แบบ EXPONENTIAL ส่วนจำนวนวันที่นำมาหาค่าเฉลี่ย ก็อาจเปลี่ยนแปลงได้ แต่ที่นิยมใช้กันทั่วไปคือ 12 วัน และ 25 (หรือ 26 วัน) มีข้อสังเกตว่า เส้นค่าเฉลี่ยระยะยาวนี้ จะมีระยะเวลายาวนาน กว่าเส้นค่าเฉลี่ยระยะสั้นประมาณ 1 เท่า




หลักการวิเคราะห์

1.   ถ้า MACD มีค่าเป็นบวก แสดงว่าราคาหุ้นอยู่ในแนวโน้มขึ้นระยะกลาง
2.   ถ้า MACD มีค่าเป็นลบ แสดงว่าราคาหุ้นอยู่ในแนวโน้มลงระยะกลาง
3.   ถ้า MACD มีค่าเป็นบวก และตัดเส้นสัญญาณ (SIGNAL LINE) ขึ้นไป แสดงว่าราคาหุ้นมีแนวโน้มสูงขึ้น เป็นสัญญาณซื้อ (BUY SIGNAL)
4.   ถ้า MACD มีค่าเป็นลบ และตัดเส้นสัญญาณ (SIGNAL LINE) ลงมา แสดงว่าราคาหุ้นมีแนวโน้มลดลง เป็นสัญญาณขาย (SELL SIGNAL)
5.   ถ้า MACD มีค่าเป็นบวก แต่ตัดเส้นสัญญาณ (SIGNAL LINE) ลงมา แสดงว่าราคาหุ้นกำลังมีแนวโน้มชะลอการลงหรือปรับตัวขึ้นช่วงสั้น
6.   ถ้า MACD มีค่าเป็นลบ แต่ตัดเส้นสัญญาณ (SIGNAL LINE) ขึ้นไป แสดงว่าราคาหุ้นกำลังมีแนวโน้มชะลอการลงหรือปรับตัวขึ้นช่วงสั้น
7.   ถ้า MACD มีค่าเป็นบวก และอยู่ในระดับสูงใกล้เคียงกับยอดเก่า แสดงว่าราคาหุ้นมีโอกาสที่จะทรงตัวหรือปรับตัวลดลง
8.   ถ้า MACD มีค่าเป็นลบ และอยู่ในระดับต่ำใกล้เคียงกับฐานเก่า แสดงว่าราคาหุ้นมีโอกาสที่จะทรงตัวหรือปรับตัวสูงขึ้น
9.   ถ้า MACD และเส้นสัญญาณ (SIGNAL LINE) มีค่าเป็นบวก แสดงว่าตลาดเป็นตลาด BULL
10. ถ้า MACD และเส้นสัญญาณ (SIGNAL LINE) มีค่าเป็นลบ แสดงว่าตลาดเป็นตลาด BEAR


Read More »

0 ความคิดเห็น :

สโตแคสติกส์ STOCHASTICS

STOCHASTICS คือ ดัชนีวัดการแกว่งตัวของราคาที่ศึกษาความสัมพันธ์ การเคลื่อนไหวของราคาในช่วงเวลาหนึ่ง ๆ กับราคาปิด โดยมาจากข้อสังเกตที่ว่า ถ้าการสูงขึ้นของราคาหุ้นนั้นมีแนวโน้มสูงขึ้นต่อไป ราคาปิดของหุ้นนั้นจะอยู่ใกล้กับราคาสูงสุด แต่ถ้าราคาของหุ้นมีแนวโน้มลดต่ำลง ราคาปิดจะอยู่ในระดับเดียวกับราคาต่ำสุดของวัน





Read More »

0 ความคิดเห็น :

โบลินเจอร์ แบนด์ BOLLINGER BANDS

โบลินเจอร์ แบนด์ BOLLINGER BANDS
Bollinger Bands จะคล้ายคลึงกับ Moving Average Envelope แตกต่างกันที่ Envelope ถูก Plot โดยใช้เปอร์เซ็นต์ที่แน่นอน โดย Plot ไว้เหนือเส้นและใต้เส้น Moving Average ในขณะที่ Bollinger Bands ถูก Plot โดยใช้เส้นเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) โดย Plot ไว้เหนือและใต้เส้น Moving Average เพราะเส้นเบี่ยงเบนมาตรฐานใช้วัดความเปลี่ยนแปลง Bollinger Bands จะขยายกว้างขึ้นในขณะที่ตลาดมีการเปลี่ยนแปลงและหดลงในช่วงที่ตลาดซบเซา




Read More »

0 ความคิดเห็น :

RSI คืออะไร


RSI คืออะไร


RSI เป็นเครื่องมือที่นำมาใช้วัดการแกว่งตัวของราคาหุ้น สำหรับการลงทุนในช่วงหนึ่ง เพื่อดูภาวะการซื้อมากเกินไป (OVERBOUGHT) หรือขายมากเกินไป (OVERSOLD) โดยใช้ระดับเหนือ 70% บอกภาวะ OVERBOUGHT และระดับต่ำกว่า 30% บอกภาวะ OVERSOLD และยังใช้เป็นสัญญาณเตือนว่า แนวโน้มของราคาหุ้นที่กำลังมีทิศทางขึ้นหรือลงนั้น กำลังใกล้จะอ่อนตัวลงหรือยัง โดยมีสัญญาณเตือนที่แสดงออกมาในรูปแบบของการแยกทางออก (DIVERGENCE) ระหว่างราคาหุ้นกับ 14 RSI


Read More »

0 ความคิดเห็น :

การดู แนวรับ แนวต้าน กราฟหุ้น

แนวรับ แนวต้าน สามารถบอกถึงเป้าหมายในอนาคตได้ คือ อดีตเคยขึ้นไปเป็นแนวต้านตรงไหน อนาคตก็จะขึ้นไปที่แนวต้านเดิมที่เคยขึ้น เช่นเดียวกัน อดีตเคยลงไปตรงไหนเป็นแนวรับ อนาคตก็จะลงไปที่แนวรับเดิมที่เคยลงไปถึง เป็นไปตามธรรมชาติ เป็นรอบๆของการขึ้น ลง อดีตเคยเป็นยังไงอนาคตกราฟก็จะวิ่งไปที่เดิมที่เคยขึ้นและลงเสมอ ๆ
Double top เกิดจากการที่แนวต้าน (อดีต) และแนวต้านปัจจุบันมาชนที่เดียวกันมักจะดีดตัวกลับลงแรงๆ เสมอ คล้ายๆ กับตัว M บางครั้งจะเป็นตัว M หางยาว





Read More »

0 ความคิดเห็น :

การอ่าน เส้นแนวโน้ม Trend Line

เส้นแนวโน้ม (TREND LINE) หมายถึง ทิศทางของหุ้นที่มีการเคลื่อนที่ไปในแนวทางใดทางหนึ่ง ตามแนวโน้มนั้น ๆ ทำให้เราทราบถึงแนวโน้มของราคาหุ้นในอนาคต เราสามารถนำเส้นแนวโน้มไปหาแนวต้าน, แนวรับ หรือหาทิศทางของราคาได้ในแผนภูมิแบบแท่ง, แผนภูมิแบบแท่งเทียน หรือในแผนภูมิแบบ POINT & FIGURE และเราสามารถนำเอาเส้นแนวโน้มไปใช้ร่วมกับ เครื่องมือวิเคราะห์ทางเทคนิคตัวอื่น ๆ ได้ เช่น RSI, MOMENTUM ฯลฯ
การวิเคราะห์แนวโน้ม Trend Line
การวิเคราะห์แนวโน้มสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ลักษณะ คือ
แนวโน้มขึ้น (UPTREND)
แนวโน้มลง (DOWNTREND)
แนวโน้มที่เคลื่อนตัวไปทางด้านข้าง (SIDEWAYS TREND)

แนวโน้มขึ้น (UPTREND)
มีรูปแบบที่จุดยอดของราคาที่ขึ้นไปในแต่ละครั้งจะสูงกว่ายอดเก่า และราคาต่ำสุดของหุ้นที่ลดลงในครั้งใหม่จะสูงกว่าครั้งก่อน โดยเส้นแนวโน้มขึ้น (UPTREND LINE) จะเป็นเส้นตรงที่ลากผ่านจุดต่ำอย่างน้อยสองจุดในแนวขึ้น โดยไม่ควรมีจุดฐานที่ต่ำกว่าเส้นแนวโน้มขึ้นดังกล่าว ต่อมาหากราคาหุ้นตกทะลุผ่านเส้นแนวโน้มนี้ เป็นการบอกถึงแนวโน้มหุ้นจะเปลี่ยนเป็นลง





Read More »

0 ความคิดเห็น :

เทคนิคการวิเคราะห์กราฟแท่งเทียน

 \"bullishcandles

ว่ากันว่าการวิเคราะห์หุ้นด้วยรูปกราฟแท่งเทียนหรือ Candlestick สามารถที่จะช่วยให้คุณทำการซื้อขายหุ้นได้อย่างแม่นยำยิ่งขึ้น คำกล่าวอ้างนี้จะเป็นจริงแค่ไหน? และมันจะสามารถเอาชนะความน่าจะเป็นของการโยนเหรียญได้หรือไม่? ในวันนี้ผมได้ลองทำการทดสอบมันกับตลาดหุ้นไทยออกมาให้ดูกันครับ
ประวัติโดยสังเขปของการวิเคราะห์ด้วยกราฟแท่งเทียน Candlestick
เป็นที่รู้กันดีว่ากราฟแท่งเทียนหรือ Candlestick Chart นั้นมีประวัติของมันมาอย่างยาวนาน มันถูกคิดค้นขึ้นโดยนักเก็งกำไรข้าวชาวญี่ปุ่นที่ชื่อว่า Honma Munehisa หรือในอีกชื่อหนึ่งว่า Sokyu Homma ในช่วงราวๆศตวรรษที่ 17 โดยภายหลังจากที่เขาได้ทำการคิดค้นการวิเคราะห์พฤติกรรมของราคาข้าวด้วยกราฟ แท่งเทียนขึ้นมานั้นมันก็ได้ช่วยให้เขากลายเป็นอภิมหาเศรษฐีในยุคของเขาใน เวลาไม่นานนัก ประมาณการกันว่าทรัพย์สมบัติของเขานั้นหากนำมาตีเป็นมูลค่าของเงินใน ปัจจุบันนั้นเทียบได้ถึงราวๆ 100 Billion US Dollar เลยทีเดียว ใครอยากอ่านประวัติของเขาเพิ่มเติมแบบสนุกๆลองคลิ้กเข้าไปอ่าน Post ที่เขียนไว้โดยคุณ Tea for Two ได้เลยที่นี่ครับ (ต้องขอขอบคุณมา ณ ที่นี้ด้วยครับ \"wlEmoticon)
*** ในบทความนี้ผมเองจะไม่ขอกล่าวถึงพื้นฐานการวิเคราะห์ด้วยกราฟแท่งเทียนให้ อ่านกันนะครับ เนื่องจากคิดว่าคงมีบทความดีๆเกี่ยวกับมันอยู่เต็มไปหมดแล้ว และมันก็ไม่ใช่สิ่งที่อยากจะนำมาพูดคุยกันในวันนี้ด้วย เพราะประเด็นสำคัญของมันในวันนี้ก็คือความแม่นยำของมันเสียมากกว่าครับ


Read More »

0 ความคิดเห็น :

10วิธีที่ทำให้เจ็งหุ้นอย่างรวดเร็ว

10วิธีที่ทำให้เจ็งหุ้นอย่างรวดเร็วและได้ผลแน่นอน
1.เวลาหุ้นลงมีเท่าไหร่อย่าเพิ่งขาย ไม่ขายไม่ขาดทุนครับ เก็บไว้นานๆ โดยเฉพาะหุ้นผลประกอบการแย่ลง เก็บมันไว้ เดี๋ยวมันก็เด้งกลับ
2.เวลาหุ้นลงข่าวร้ายเยอะๆ อ่านข่าวมันเข้าไป กลัวให้มากๆ อย่าไปซื้อตอนข่าวร้ายเต็มตลาดเด็ดขาด เพราะมันไม่น่าซื้อ เดี๋ยวมันจะต้องลงต่ออย่างแน่นอ
3.หุ้นราคาขึ้นมา ได้กำไรนิดนึงรีบขายครับ อย่าโลภ เดี๋ยวกำไรหาย ให้ขายทิ้งให้หมดเลย ไม่งั้นจะติดดอยต่อได้
4.เชื่อฟัง เทพ.เซียน.กูรู ให้เยอะๆ เพราะพวกมีประสบการณ์มากกว่าเรา ต้องเชื่อฟังไว้มากๆ เขาเชียร์ซื้อตัวไหน ซื้อตามเขาไปเลยครับ เอาราคา ATO ไปเลย ซื้อแล้วราคาร่วงอย่าเพิ่งขาย เพราะที่เขาแนะนำดีจริงๆ ให้ถือไว้ยาวๆก็ได้ แล้วบอกคนอื่นๆว่าเราเป็น VI
5.เวลามีข่าวดีเต็มตลาด หุ้นวิ่งกระจาย ดัชนีพุ่งสูงปิ๊ด ต้องรีบซื้อตาม เพราะตอนนั้นแหละคือมันขึ้นแน่ๆ
6.หุ้นปั่นเป็นสิ่งที่ทำให้รวยเร็วที่สุด เรื่องอะไรจะต้องไปอยู่กับหุ้นพื้นฐานดีๆล่ะ กว่ามันจะขึ้นแต่ละบาทแทบกระอัก ไม่คุ้มเสี่ยงหรอก เอาหุ้นปั่นเลยดีกว่า เห็นตัวไหนใน ticker ยาวๆ รีบตามเข้าทันที
7.จากข้อหก ถ้าหุ้นปั่นที่ซื้อราคามันร่วงลงมา อย่าตกใจ ของถูกมากองอยู่ตรงหน้าแล้ว ให้รีบซื้อในราคาที่ลดกระหน่ำทันที โอกาสรวยอยู่ตรงหน้าแล้ว มันลง ก็ถัวซื้อเข้าไป ต้นทุนเราก็ต่ำลงอย่างเห็นได้ชัด ทีนี้แหละ พอมันขึ้นเรากำไรเละ...
8.เล่นเองใช้เงินนิดเดียวคงไม่พอ รวยไม่ทันเขา ควรไปกู้ธนาคาร ยืมเพื่อน กดบัตรเครดิตออกมาซื้อด้วย โดยเฉพาะตอนมันเริ่มลงนิดนึง จะได้ถัวซื้อเข้าไป ไม่ต้องกลัว ต้นทุนเราต่ำลงเรื่อยๆ เดี๋ยวกำไรจากหุ้นก็เยอะกว่าดอกเบี้ยเงินกู้ตั้งเยอะ ยิ่งถ้าลงหนักๆ ควรขายบ้าน ขายรถออกมาซื้อให้ได้
9.เวลาเล่นหุ้น ไม่ต้องหาหนังสือมาอ่าน หรือหาความรู้เพิ่มเติมหรอกครับให้เสียเวลา แน่ใจหรอว่าเราอ่านแล้วจะวิเคราะห์ได้ มือใหม่อย่างเราอย่ามั่นใจตัวเองเกินไปครับ ไม่ต้องไปสนใจมัน เดี๋ยวก็มีนักวิเคราะห์แจกหุ้นให้อยู่ทุกวัน ตามเว็บไซต์เว็บบอร์ดก็มี โทรถามมาร์เอาก็ได้เขาวิเคราะห์ดีกว่าเราเยอะแน่นอน
10.จะซื้อหุ้นไม่ต้องสนใจหรอกครับว่า บริษัทนั้นจะชื่ออะไร ทำธุรกิจยังไง ผลประกอบการเป็นยังไง จำตัวย่อให้ได้ก็พอ มันจะทำธุรกิจอะไรก็ช่างหัวมัน ซื้อตามเขาไปน่ะแหละ
โดย: Phoenix Garuda

0 ความคิดเห็น :

ข่าวการศึกษา